สนับสนุนเว็บ

ผู้เขียน หัวข้อ: อนาคตโอทอปไทยสู่เออีซี - เออีซีกับม.หอการค้าไทย  (อ่าน 83 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นๅยด้ามขวาน

  • ออฟไลน์
  • 49115
    30336
    64972



  • Administrator
  • *****
  • สมัครสมาชิกเมื่อ 17/07/2009
    YearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYears
  • กระทู้ : 49115
  • Like Post : 64972
  • Peny : 30336
  • 16

    • ดูรายละเอียด


  • เข้าใช้งานล่าสุดเมื่อ 14/พ.ย./22



                                               
โลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วภายใต้กระแสการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ซึ่งมีเป้าหมายของการรวมกลุ่ม คือ การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน โดยทั้ง 10 ประเทศในอาเซียนสามารถเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน รวมไปถึงแรงงานฝีมือ ซึ่งถือเป็นความท้าทายของบรรดาผู้ประกอบการไทยไม่ว่าจะเป็นผู้นำเข้า ส่งออก ผู้ที่ทำธุรกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการระดับชุมชน หรือ ที่รู้จักกันดีคือ "ผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" (โอทอป) ที่จะต้องเรียนรู้และปรับตัวเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอีกไม่กี่ปีข้างหน้า  “ผศ.ดร.สุรพงษ์ พินิจกลาง” อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย บอกในรายการ “เศรษฐกิจติดจอ” ทางเดลินิวส์ทีวี เมื่อวันที่ 27 ก.ย. ว่า หากพูดถึงเออีซีแล้ว ในเวลานี้ต้องยอมรับว่ากลุ่มที่จะลำบากมากที่สุดหากยังไม่เร่งปรับตัว คือ กลุ่มของ “โอทอป” หรือผู้ผลิตสินค้าพื้นเมืองพื้นบ้าน โดยเฉพาะกลุ่มโอทอปที่เป็นขนาดเล็กประเภทวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้าน เป็นต้น ซึ่งท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงหากกลุ่มโอทอปไม่รู้จักปรับตัวให้รองรับกับกระแสโลกกระแสการค้าเสรีที่เกิดขึ้น จะทำให้อยู่ได้อย่างลำบากเพราะอาจถูกสินค้าของเพื่อนบ้านมาแย่งตลาดมาแย่งลูกค้าดี ๆ ไปได้  ทั้งนี้สามารถยกตัวอย่างให้เห็นในเรื่องของสินค้าโอทอปประเภท “อาหาร” ที่พบว่าเวลานี้นอกจากการได้รับรองมาตรฐานด้านความปลอดภัยประเภทต่างๆ แล้ว เรื่องราวของการใช้นวตกรรม เข้ามาสนับสนุนเพื่อเพิ่มมูลค่าก็เป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน สะท้อนให้เห็นได้จากการเก็บข้อมูลจาก “มิลเทล” ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยผลิตภัณฑ์ ตลาดผู้บริโภคและสื่อ พบว่า เวลาในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง “เวียดนาม” กำลังมีการพัฒนาเชิงนวตกรรมของอุตสาหกรรม มากกว่าไทยถึง 3 เท่าตัวทีเดียว ! แม้ว่าในปัจจุบันไทยจะได้ชื่อว่าเป็น “ครัวของอาเซียน” ก็ตาม เรื่องนี้... สะท้อนว่าประเทศต่าง ๆ เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของสินค้าในประเทศมากขึ้น โดยเริ่มจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชน
  เช่นเดียวกับไทย ที่เวลานี้หน่วยงานราชการต่างพยายามเข้ามาช่วยเหลือและสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะจากกระทรวงสาธารณสุข ที่เข้ามาดูแลในเรื่องของมาตรการตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนด รวมถึงการจัดตั้งทีม “1 ทีม 1 อำเภอ” เพื่อเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในเรื่องของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชน การทำหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย ที่ให้ความช่วยเหลือในเรื่องของการพัฒนาชุมชน และสุดท้ายคือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เข้ามาร่วมดูแลการผลิตตั้งแต่ต้นทางคือเรื่องของวัตถุดิบ เพราะเชื่อว่ากลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มเอสเอ็มอี กลุ่มชุมชน เหล่านี้ จะเป็นเสาหลักในการขับเคลื่อเศรษฐกิจที่สำคัญในระยะต่อไป  ดร.สุรพงษ์ บอกว่า แม้ว่ารัฐบาลหรือหน่วยงานต่าง ๆ พร้อมให้การช่วยเหลือกับกลุ่มโอทอปอย่างเต็มที่ แต่ในแง่ของศักยภาพแล้ว คงไม่สามารถลงไปได้อย่างลึกซึ้งเหมือนกับองค์กรที่อยู่ใกล้ชิดกับกลุ่มโอทอปโดยตรงอย่าง องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นอบต. อบจ. ที่มีอยู่ทั่วทุกพื้นที่ ที่ถือเป็นเสาหลักสำคัญที่จะช่วยเหลือดูแลกลุ่มโอทอปเหล่านี้ได้เพราะเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับคนในพื้นที่โดยตรง โดยถึงเวลาแล้วที่อบต.อบจ.เหล่านี้ต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ของตัวเองจากที่เน้นเฉพาะในเรื่องของการปกครองท้องถิ่นแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องหันมาทำหน้าที่ในเรื่องของการพัฒนาอาชีพพัฒนาความสามารถให้กับกลุ่มโอทอปด้วย โดยอบต.อบจ.เหล่านี้ ต้องทำหน้าที่เหมือนกับ “ซีอีโอ” เช่นเดียวกับในสมัยหนึ่งที่พยายามผลักดันให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ว่า “ซีอีโอ”  ขณะเดียวกันบรรดากลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มโอทอป เอง ก็ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของตนเอง โดยเฉพาะต้องกระตือรือร้นที่ต้องแสวงหาข้อมูลว่ามีหน่วยงานใดที่คอยให้การสนับสนุนกับสินค้าของตัวเองบ้าง ไม่ใช่ไม่ไขว่คว้า แต่รอให้ความช่วยเหลือวิ่งเข้ามาหาตัวเองเท่านั้น เพราะหากทำเช่นนี้ก็เป็นการสูญเสียโอกาสอย่างมาก เพราะที่ผ่านมามีสารพัดหน่วยงานที่คอยให้ความช่วยเหลือกับเอสเอ็มอี กับวิสาหกิจชุมชน ในเรื่องของการพัฒนานวตกรรม หรือการพัฒนาสินค้า แต่กลุ่มผู้ประกอบการเล้กๆเหล่านี้กลับไม่รู้รายละเอียด ขณะที่ผู้ประกอบการขนาดกลางที่มีความรู้มากหน่อยจะเข้ามาใช้โอกาสที่ว่า จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มโอทอปขนาดเล็ก  “ เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย หากผู้ประกอบการไม่รู้ว่ามีหลายหน่วยงานของรัฐที่คอยให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ทั้งที่มีโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย หรือไอแทป ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่ช่วยสนับสนุนเงินแก่กลุ่มชุมชนสูงถึง 1 ล้านบาท รวมถึงสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรืออินโนเวทีฟเฮ้าส์ ที่คอยให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่นำเสนอนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ”  อย่างไรก็ดี แม้จะมีหลายหน่วยงานคอยให้การสนับสนุน แต่ขณะเดียวกันผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นขนาดกลาง ขนาดเล็ก หรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มโอทอป ก็ต้องสร้างต้องผลิตผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานควบคู่ไปด้วย เช่นในแง่ของผลิตภัณฑ์ประเภท “อาหาร” ก็ต้องทำให้สินค้าของตัวเองให้ได้มาตรฐานตามหลัก “ฟู้ด เซฟตี้” หรือ ข้อกำหนดขั้นพื้นฐานจำเป็นในการผลิตและควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตาม หรือมาตรฐาน “จีเอ็มพี” เป็นต้น  ดร.สุรพงษ์ ได้ทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า แม้ว่าสินค้าโอทอปของไทยในหลาย ๆ สินค้าจะเดินหน้าก้าวไปสู่เวทีโลกมาแล้วก็ตาม ด้วยฝีมือการผลิตที่ปราณีต มีดีไซน์ที่ทันสมัย ถูกใจผู้บริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น ยุโรป หรืออเมริกา แต่ก็ยังมีสินค้าอีกหลายประเภทที่ยังต้องการพัฒนาให้มีมูลค่าเพิ่มและก้าวออกไปแข่งขันให้ได้ แม้ว่าไม่สามารถไปไกลได้ถึงโลกตะวันตก ก็ตาม แต่ในตลาดอาเซียนที่มีกำลังซื้อมากกว่า 600 ล้านคนที่กำลังจะเข้ามาถึงในอีก 2 ปีข้างหน้า ก็ถือเป็นตลาดสำคัญที่ทำให้กลุ่มโอทอปเหล่านี้มีโอกาสที่ดีขึ้น แต่ต้องรู้จักแสวงหาโอกาสให้ตัวเองให้เป็นด้วยเช่นกัน  ดังนั้นจากนี้ไปจึงได้แต่หวังว่า ทั้งวิสาหกิจชุมชน กลุ่มสตรีแม่บ้าน ต้องเร่งปรับตัวเองอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะการแสวงหาความรู้ ที่ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รูปลักษณ์สินค้า นวัตกรรม เพื่อให้เป็นที่ดึงดูดของกำลังซื้อจากอาเซียน หากผู้ประกอบการไทยยังไม่สามารถปรับตัวเองได้ รับรองได้ว่าเมื่อเออีซีเข้ามาถึง จะมีแต่ความลำบาก ดังนั้นจึงควรเริ่มตั้งแต่วันนี้ อย่ารอเวลา และควรคำนึงเสมอว่า จุดเริ่มต้นอาจเหมือนกันหรือแตกต่างกันเล็กน้อย แต่จุดจบที่ออกมาหากพลาด ผลสุดท้ายต่างกันโดยสิ้นเชิงอย่างแน่นอน...
 
  ภัทราภรณ์ พลายเถื่อน
     

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : อนาคตโอทอปไทยสู่เออีซี - เออีซีกับม.หอการค้าไทย

LikePost โดย 0 สมาชิก :


 

Sitemap 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 
ร่วมขับเคลื่อนโดย