สนับสนุนเว็บ

ผู้เขียน หัวข้อ: ดีแทค ลุ้น กสท เห็นชอบให้บริการ 4 จี รูปแบบขายส่งขายต่อ  (อ่าน 94 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นๅยด้ามขวาน

  • ออฟไลน์
  • 49115
    30336
    64972



  • Administrator
  • *****
  • สมัครสมาชิกเมื่อ 17/07/2009
    YearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYears
  • กระทู้ : 49115
  • Like Post : 64972
  • Peny : 30336
  • 16

    • ดูรายละเอียด


  • เข้าใช้งานล่าสุดเมื่อ 14/พ.ย./22



     ดีแทค แง้มอยู่ระหว่างเจรจาขอ กสท นำคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่ไม่ใช้งานมาให้บริการ 4 จี ในรูปแบบขายส่งขายต่อ แอบหวัง กสทช.จะเห็นชอบนำคลื่นทั้งหมดมาเปิดประมูล 4 จี ฟุ้งจะทำให้เม็ดเงินจากการประมูลคลื่นทั้งหมดกว่า 6 หมื่นล้านบาท        
   วันนี้ (3 ต.ค.) ที่ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค เปิดเผยว่า ดีแทค อยู่ระหว่างเจรจากับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อนำคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่ยังไม่ได้ใช้งานจำนวน 24.5 เมกะเฮิรตซ์ มาใช้งานในการให้บริการ 4จี (แอลทีเอ) ในรูปแบบธุรกิจขายส่งและขายต่อบริการตามแนวทางที่ กสท ได้เคยทำความตกลงกับกลุ่มบริษัทอื่นไปก่อนหน้านี้  
  ในขณะเดียวกัน หาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต้องการนำคลื่นความถี่ดังกล่าวไปประมูล ดีแทค ก็ยินดีที่จะคืนเพื่อให้นำไปประมูลในปี 57 ทั้งนี้ ดีแทคพร้อมที่จะดำเนินการให้บริการในทั้ง 2 แนวทางเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและพัฒนาการที่รวดเร็วของเทคโนโลยี 4 จี ที่เกิดขึ้น ซึ่งการที่บริษัทเลือกดำเนินการในทั้ง 2 ทางเลือกข้างต้น เพราะดีแทคมีความพร้อมและมุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยี 4จี ที่ทันสมัยมาสู่ประเทศไทย จึงเลือกที่จะดำเนินการทั้ง 2 แนวทางไปพร้อมๆ กัน  
  อย่างไรก็ตาม การนำคลื่นที่ยังไม่ได้ใช้งานไปประมูลในเดือนกันยายน 57 ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุดในระยะยาว ดังนั้น หาก กสทช จะนำไปประมูลในเดือนก.ย.57 นี้ ดีแทคก็ยินดีและไม่ขัดข้อง  ซึ่งการจัดการประมูลล่วงหน้าก่อนหมดสัญญาสัมปทาน จะส่งเสริมเรื่องความโปร่งใสและชัดเจนในการจัดการบริหารคลื่นความถี่จาก กสทช. ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการสามารถจะวางแผนลงทุนล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกัน ผู้ใช้บริการก็สามารถมั่นใจได้ว่าจะได้ใช้บริการอย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องมีการกำหนดมาตรการเยียวยาอีก  
  ทั้งนี้ หากเทียบเคียงกับราคาประมูลขั้นต่ำ ที่ตั้งไว้สำหรับคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ มูลค่าของคลื่นดังกล่าวจะจะมีมูลค่ามากกว่า 2.2 หมื่นล้านบาท หากรวมคลื่นดังกล่าวกับคลื่น จำนวน 25.2 เมกะเฮิรตซ์ ของ บริษัท ทรูมูฟจำกัด และ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด และคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส จำนวน 20 เมกะเฮิรตซ์ และนำคลื่นทั้งหมดมาประมูลพร้อมกันในปี 57 จะสร้างรายได้ให้แก่รัฐได้มากกว่า 62,725 ล้านบาท  

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ดีแทค ลุ้น กสท เห็นชอบให้บริการ 4 จี รูปแบบขายส่งขายต่อ

LikePost โดย 0 สมาชิก :


 

Sitemap 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 
ร่วมขับเคลื่อนโดย