สนับสนุนเว็บ

ผู้เขียน หัวข้อ: ถาม-ตอบเรื่อง "เพดานหนี้" ของสหรัฐ  (อ่าน 86 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Permalink: ถาม-ตอบเรื่อง "เพดานหนี้" ของสหรัฐ

05/ต.ค./13 หัวข้อไอดี: 16022813 | ลิ้งค์หัวข้อ: /topic/16022813

ออฟไลน์ นๅยด้ามขวาน

  • ออฟไลน์
  • 49115
    30336
    64972



  • Administrator
  • *****
  • สมัครสมาชิกเมื่อ 17/07/2009
    YearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYears
  • กระทู้ : 49115
  • Like Post : 64972
  • Peny : 30336
  • 16

    • ดูรายละเอียด


  • เข้าใช้งานล่าสุดเมื่อ 22/พ.ค./24



     "เพดานหนี้" คืออะไร? "โอบามา" กำหนดเพดานหนี้เองได้หรือไม่? ถ้าสหรัฐจ่ายหนี้ไม่ทันจะเป็นอย่างไร?                                                                                                                                                  
​สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่  4 ต.ค. ว่าในขณะที่วิกฤตงบประมาณสหรัฐกำลังเป็นที่จับตามองอย่างใกล้ชินของคนทั่วโลก คำหนึ่งที่ทุกคนได้ยินบ่อยมากขึ้นตามไปด้วยก็คือคำว่า "เพดานหนี้"  แต่สิ่งนี้คืออะไร  ​เพดานหนี้ คือ ขีดความสามารถในการกู้ยิมเงินของรัฐบาลสหรัฐ กำหนดโดยสภาคองเกรส ในความเป็นจริงปริมาณหนี้ของวอชิงตันแตะระดับสูงสุดที่มีการกำหนดเอาไว้ คือ 16.699 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 526 ล้านล้านบาท ) มาตั้งแต่เดือนพ.ค. แต่กระทรวงการคลังใช้ "มาตรการพิเศษ"  เพื่อเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้มาตลอด  เพราะเหตุใดรัฐบาลสหรัฐต้องกู้เงินมากขนาดนี้
  วอชิงตันเพิ่มปริมาณการกู้ยืมเงินมาตั้งแต่ช่วงปี 2523 เป็นต้นมา ด้วยความที่เศรษฐกิจเติบโตมากขึ้น จนมาถึงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2550 ทำให้เกิดช่องว่างครั้งใหญ่ระหว่างรายรับกับรายจ่ายของรัฐบางกลาง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงพยายามคิดหาทางกระตุ้นเศรษฐกิจและเพื่อพยุงเสถียรภาพสถาบันการเงิน ซึ่งนำไปสู่การขยายเพดานหนี้ 2 ครั้งในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2551 และอีก 2 ครั้งในปี 2552  เพราะเหตุใดประธานาธิบดีจึงสั่งเพิ่มเพดานหนี้เองไม่ได้
  ผู้นำสหรัฐไม่มีอำนาจในเรื่องนี้ รัฐบาลจะขยายเพดานหนี้ได้หรือไม่ และเป็นจำนวนเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสภาคองเกรส ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดวงเงินให้กระทรวงการคลังไปกู้ยืมมา  รัฐบาลกลางสหรัฐได้รับการอนุมัติเพิ่มเพดานหนี้มาแล้วกี่ครั้ง
  นับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2505 เป็นต้นมา สภาคองเกรสอนุมัติการขยายเพดานหนี้ให้รัฐบาลกลางไปแล้ว 77 ครั้ง ซึ่งแทบทุกครั้งไม่เคยเกิดปัญหา ต่างจากครั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนต.ค.นี้  เพราะเหตุใดการขยายเพดานหนี้ครั้งนี้จึงมีปัญหามากนัก
  การที่พรรคเดโมแครตสูญเสียการครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรให้กับพรรครีพับลิกันมาตั้งแต่ปี 2553 ทำให้การ "ต่อสู้" เรื่องงบประมาณถือเป็นเรื่องปกติ  อย่างไรก็ตาม การที่พรรครีพับลิกันสามารถคว้าชัยชนะได้ในการเลือกตั้งท้องถิ่น ถือเป็นการส่งสาส์นจากประชาชนให้สะท้อนกลับไปยังพรรคเดโมแครตของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ว่าชาวอเมริกันเริ่มไม่เห็นด้วยกับนโยบายหลายข้อของรัฐบาล  โดยเฉพาะกฎหมายปฏิรูประบบประกันสุขภาพ ที่รู้จักกันในชื่อ "โอบามาแคร์"  แม้การอภิปรายก่อนการอนุมัติงบประมาณหลายครั้งที่ผ่านมา จะทำให้เกิดคำถามตามมาเกี่ยวกับอำนาจและขอบเขตในการบริหารของรัฐบาล แต่ครั้งนี้ดูเหมือนทุกฝ่ายจะพุ่งประเด็นไปยังโอบามาแคร์ ที่เริ่มมีผลบังคับใช้แล้วบางส่วนตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.  การจัดการงบประมาณสหรัฐเป็นเรื่องยุ่งยากจริงหรือ
  การที่กฎหมายสหรัฐระบุให้การอนุมัติงบประมาณกับเพดานหนี้เป็นคนละเรื่องกัน สภาคองเกรสจึงสามารถอนุมัติงบประมาณได้ โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงเงินจริงที่มีอยู่ ซึ่งคงเป็นเรื่องดีหากรัฐบาลมีรายรับมากกว่ารายจ่าย แต่โลกแห่งความจริงไม่เป็นเช่นนั้น กระทรวงการคลังมีหน้าที่ต้องบริหารรายรับกับรายจ่ายของแผ่นดินให้มีความสมดุล แน่นอนว่าหนึ่งในวิธีที่ต้องใช้ คือการกู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้ต่างประเทศ  งบประมาณของรัฐบาลสหรัฐจะหมดลงเมื่อใด
  แม้ที่ผ่านมาจะใช้วิธีเพิ่มเพดานหนี้มาตลอด แต่ในปีนี้การเพิ่มเพดานหนี้ช้าหรือไม่ทันเวลา กำลังจะทำให้เงินของประเทศหมดลงวันใดวันหนึ่ง ระหว่างวันที่ 22-31 ต.ค.นี้  จะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น
  รัฐบาลอาจใช้วิธีตัดงบประมาณส่วนกลางครั้งมโหฬาร หรือขึ้นภาษีประชาชน ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจใช้ทั้งสองวิธี แต่ในทางทฤษฎีถือว่าทำในเวลาเดียวกันยาก และเงินที่ได้ก็อาจยังไม่มากพอ  ย้อนกลับไปเมื่อช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2554 นายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รมว.กระทรวงการคลังในเวลานั้น เคยเตือนว่าการใช้วิธีดังกล่าวไม่สามารถทำให้รัฐบาลมีเงินเพิ่มขึ้นได้  ทั่วโลกจะรู้สึกอย่างไร
  หากเกิดการผิดนัดชำระหนี้จริง ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกต้องอยู่ในอาการ “ช็อก” อย่างแน่นอน เนื่องจากตราสารหนี้ของสหรัฐถือว่ามีความน่าเชื่อถือและปลอดภัยมากเป็นลำดับต้นของโลก อย่างไรก็ตาม วิเคราะห์มองว่า เป็นการยากที่จะกล่าวอย่างเจาะจงในเวลานี้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น และเหตุการณ์นั้นจะกินระยะเวลานานแค่ไหน แต่สิ่งที่คงจะได้รับผลกระทบเร็วและเห็นชัดที่สุด น่าจะเป็น ราคาทองคำ  สหรัฐมีทางเลือกอื่นหรือไม่
  นอกเหนือจากการยอมผิดนัดชำระหนี้ ที่จะส่งผลกระทบลูกโซ่ไปทั่วโลก และจะทำลายความเชื่อมั่นของทุกฝ่าย รวมถึงทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของชาวอเมริกันเพิ่มสูงขึ้นแล้ว สหรัฐแทบไม่มีทางเลือกอื่น การที่ประธานาธิบดีปฏิเสธมาตรการขยายเพดานหนี้ หรือต่อต้านนโยบายด้านการเงินที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาคองเกรสแล้ว ถือว่าผิดกฎหมายร้ายแรง และมีสิทธิ์ถูกลงมติถอดถอนสูง  อย่างไรก็ตาม หากทางเลือกของสภาคองเกรสหมายถึงการตัดงบประมาณสำหรับการสาธารณสุข การศึกษา และความมั่นคง อาทิ หน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐ ( เอฟบีไอ )   บางทีผู้นำสหรัฐอาจต้องหาทางออกอื่นที่จะทำให้ประเทศ "เจ็บปวด" น้อยที่สุด  

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ถาม-ตอบเรื่อง "เพดานหนี้" ของสหรัฐ

LikePost โดย 0 สมาชิก :


 

Sitemap 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 
ร่วมขับเคลื่อนโดย