สนับสนุนเว็บ

ผู้เขียน หัวข้อ: กรมส่งเสริมการเกษตรสร้างความเข้าใจในสิทธิขึ้นทะเบียนยางพารา  (อ่าน 99 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นๅยด้ามขวาน

  • ออฟไลน์
  • 49115
    30336
    64972



  • Administrator
  • *****
  • สมัครสมาชิกเมื่อ 17/07/2009
    YearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYears
  • กระทู้ : 49115
  • Like Post : 64972
  • Peny : 30336
  • 16

    • ดูรายละเอียด


  • เข้าใช้งานล่าสุดเมื่อ 14/พ.ย./22



     อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานตรวจสอบพื้นที่เปิดกรีดยางพารา ในพื้นที่นครศรีธรรมราช                                                                                                                                  
เมื่อวันที่ 5 ต.ค. นายโอฬาร  พิทักษ์  อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร  ลงพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช พบปะและมอบนโยบายการดำเนินงานการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราตามโครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ ปี 2557  โดยมีเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช เกษตรอำเภอจาก 23 อำเภอ ตัวแทนปลัด อบต. ตัวแทนจาก สกย. ตัวแทนจาก ธกส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับร่วมประชุมและรับนโยบาย ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครศรีธรรมราช  จากนั้นลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราทั้งระบบ ปี 2557 ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานเกษตรอำเภอท่าศาลา รวมทั้งตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานตรวจสอบพื้นที่เปิดกรีดยางพารา ของคณะทำงานระดับหมู่บ้าน/ตำบล ที่ หมู่ 6 ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา และตรวจเยี่ยมศูนย์ปฏิบัติการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ที่สำนักงานเกษตรอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช  อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร  เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 ก.ย.  เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการแก้ไขปัญหายางพาราโดยให้ดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ ปี 2557 ให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย    จำนวน 991,717 ราย ได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มขึ้นจากราคาตลาดอีก 12 บาท และสถาบันเกษตรกร  จำนวน 300 แห่ง ได้รับสินเชื่อผ่อนปรนเพื่อปรับปรุงโรงงานหรือสร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ รวมทั้งผู้ประกอบการ จำนวน 120โรง ได้รับสินเชื่อผ่อนปรนสำหรับขยายกำลังการผลิตและปรับเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิต  โดยกำหนดมาตรการ 2 มาตรการ คือ 1) มาตรการระยะสั้น เพื่อช่วยให้เกษตรกรขายยางได้ราคาสูงขึ้น และ 2) มาตรการระยะยาว เพื่อส่งเสริมการเพิ่มมูลค่ายาง เพิ่มรายได้ และความต้องการใช้ภายในประเทศโดยให้กรมส่งเสริมการเกษตรทำหน้าที่รับขึ้นทะเบียนเกษตรกรและตรวจสอบเอกสารหลักฐานเกษตรกรที่ขอรับความช่วยเหลือ   สำหรับมาตรการระยะสั้น คณะรัฐมนตรีมีมติให้เงินอุดหนุนแก่เกษตรกร เป็นเงิน 2,520 บาท/ไร่ เพิ่มจากราคาตลาด 12 บาท/กิโลกรัม ซึ่งเป็นการจ่ายล่วงหน้าแล้ว (โดยในแต่ละเดือนชาวสวนยางสามารถกรีดยางได้ 15 วัน ซึ่งยางพารา 1 ไร่ จะได้ยาง 2 กิโลกรัมต่อวัน หรือใน 7 เดือนจะได้ยาง 210 กิโลกรัม) ดังนั้น การที่รัฐบาลให้เงินอุดหนุนไร่ละ 2,520 บาท ก็คือ ทุกวันที่ชาวสวนยางขายยางในช่วงฤดูเปิดกรีด เดือน ก.ย. 2556 – ม.ค. 57 (7 เดือน) ก็จะได้เงินเพิ่มกิโลกรัมละ 12 บาท  โดยเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการฯ จะต้องดำเนินการ ดังนี้  (1) ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 2556 และขณะนี้ได้ขยายระยะเวลาการรับ  ขึ้นทะเบียนเกษตรกรฯ ถึงวันที่ 15 ต.ค. 56  (2) พื้นที่ปลูกต้องมีเอกสารหรือหนังสือรับรองสิทธิ์ที่กรมป่าไม้รับรอง 46 ประเภท เช่น โฉนดที่ดิน, ตราจอง, นส.3, สปก.4, สปก.4-01ก เป็นต้น และ (3) มีพื้นที่เปิดกรีดครัวเรือนละไม่เกิน 25 ไร่ ตามพื้นที่เปิดกรีดจริง  และอีกหนึ่งมาตรการคือ มาตรการระยะยาวนั้น มติคณะรัฐมนตรีมีมติสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยผ่อนปรนแก่สถาบันเกษตรกร เพื่อไปใช้ประโยชน์จากโรงงานแปรรูปยางที่ได้สร้างไว้แล้ว หรือจัดสร้างโรงงานแปรรูปใหม่ และสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยผ่อนปรนแก่ผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อใช้ขยายกำลังการผลิตหรือปรับเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิต นอกจากนั้นยังสนับสนุนให้มีการทำกิจกรรมการเกษตรอื่นๆ เช่น การปลูกพืชแซมยาง พืชร่วมยางหรือการเลี้ยงสัตว์ควบคู่กับการปลูกยาง เป็นต้น ซึ่งมาตรการระยะยาวมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนต.ค. 56 ถึง ก.ย. 57  ดังนั้น เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของเกษตรกรชาวสวนยาง จึงขอเชิญชวนเกษตรกรที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรให้รีบมาขึ้นทะเบียนได้ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลงปลูก หรือที่สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลงปลูกนัดหมาย ภายในวันที่ 15 ต.ค. 2556.       

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตรสร้างความเข้าใจในสิทธิขึ้นทะเบียนยางพารา

LikePost โดย 0 สมาชิก :


 

Sitemap 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 
ร่วมขับเคลื่อนโดย