สนับสนุนเว็บ

ผู้เขียน หัวข้อ: สถานการณ์ยังไม่ถึงขั้นไว้วางใจ แก้ไข รธน. ยังไม่พ้นขีดอันตราย  (อ่าน 83 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นๅยด้ามขวาน

  • ออฟไลน์
  • 49115
    30336
    64972



  • Administrator
  • *****
  • สมัครสมาชิกเมื่อ 17/07/2009
    YearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYears
  • กระทู้ : 49115
  • Like Post : 64972
  • Peny : 30336
  • 16

    • ดูรายละเอียด


  • เข้าใช้งานล่าสุดเมื่อ 14/พ.ย./22




ในที่สุดศาลรัฐธรรมนูญก็มีคำวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2557  “ไม่ขัด” กับรัฐธรรมนูญ มาตรา 168 ตามที่ส.ส. และ ส.ว. รวม 112 คน ส่งเรื่องให้พิจารณาก่อนหน้านี้ ขั้นตอนต่อไปรัฐบาลภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม จะได้นำร่างขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
 
  กรณีนี้ ทางหนึ่งอาจจะมองว่าเป็นการ “หาเรื่อง” เอากับรัฐบาลผ่านช่องทางของกฎหมาย แต่อีกทางก็มองได้ว่า ถือเป็นกระบวนการตรวจสอบการใช้งบประมาณของชาติ เพราะอย่างน้อยประโยชน์ที่ได้รับคือ คำวินิจฉัยนี้จะกลายเป็น “บรรทัดฐาน” ในการจัดทำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณต่อไปในอนาคต
 
  ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณที่เพิ่งผ่านการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้นถือเป็น “เรื่องรอง” เพราะมี “เรื่องหลัก” ที่สังคมจับตานั่นคือ การวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 2 มาตรา มาตราหนึ่งคือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 กับอีกมาตราหนึ่งคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ “ที่มาของ ส.ว.”
 
  ทั้ง 2 กรณีกำลังกลายเป็น “วิกฤติรัฐธรรมนูญ” และกลายเป็น “เงื่อนไขหนึ่ง” ที่จะทำให้รัฐบาลอยู่หรือไม่อยู่จนครบวาระ
 
  เดิมทีมองกันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เป็นเป้าหมายหลัก แต่เอาจริง ๆ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ “ที่มา ส.ว.” ต่างหากเป็นความต้องการที่แท้จริง เพราะเป็นจุดลงตัวในมุมของผู้ที่สนับสนุนให้มีการแก้ไข โดยเฉพาะการครบวาระ 6 ปีของ ส.ว. เลือกตั้งในเดือนมีนาคมปีหน้า ขณะเดียวกันก็อยู่ในช่วงของการเลือกองค์กรอิสระอย่าง ป.ป.ช. และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
 
  องค์กรอิสระในมุมมองของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยคือ ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองที่มีพลังที่สุด
 
  การแก้ไขรัฐธรรมนูญ “ที่มา ส.ว.” จึงได้ทั้งการลดจำนวน ส.ว.สรรหาซึ่งถูกมองว่าเป็นกลไกในการพิทักษ์รัฐธรรม นูญและได้โอกาสในการจัดการกับองค์กรอิสระ เพราะวุฒิสภาคือ “หมอตำแย” ทำคลอดองค์กรเหล่านั้น
 
  ถึงวันนี้ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทูลเกล้าฯร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ “ที่มา ส.ว.” ไปแล้วหรือยังเพราะเลขาธิการ ครม.ที่ชื่อ ดร.อำพน กิตติอำพน ระบุว่า ยังอยู่ในขั้นตอนของการประมาณงานซึ่งปกติจะใช้พอสมควร
 
  ล่าสุด นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ แถลงว่า ขณะนี้คำร้องที่ประธานรัฐสภาส่งความเห็นของ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้านและพวกรวม 143 คน และ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหาพร้อมพวกรวม 68 คน ขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 วรรค 1 ว่าร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ “ที่มา ส.ว.” ขัดหรือแย้งต่อหลักการและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหรือไม่  ได้ส่งมาถึงสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 3 ต.ค. ซึ่งอาจจะมีการพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป
 
  กรณีนี้หากศาลไม่รับวินิจฉัย ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขก็จะไปสู้ในประเด็นอื่นต่อไป แต่หากศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยจะเข้าเงื่อนไขเดียวกับร่าง พ.ร.บ.งบประมาณหรือไม่ นั่นคือ ต้อง “ชะลอ” การทูลเกล้าฯไว้ก่อน
 
  แม้พรรคเพื่อไทยจะระบุว่าที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญจะเคยมีมติในเรื่องนี้ไว้แล้ว ก็เป็นเรื่องน่าระทึกใจอยู่เหมือนกันว่า ที่สุดแล้วผลจะออกมาอย่างไร
 
  ปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือการออกกฎหมายอย่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม หรือ พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ไม่ต่างอะไรกับ “ดงระเบิด” ที่รัฐบาลต้องฝ่าไป กรณี พ.ร.บ.นิรโทษกรรม อาจจะถูกดึงเวลาเพื่อนำไปใช้ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งคราวหน้า เพราะหากพรรคเพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาลโอกาสจะยืนยันกฎหมายและเดินหน้าจะเป็นไปอย่างง่ายดาย
 
  ขณะที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่สุดแล้วไม่สามารถทำได้ รัฐบาลพรรคเพื่อไทยก็ไม่ได้เสียหาย แต่สามารถนำไปอ้างได้ว่า ต้องแก้ทั้งฉบับ แทนที่จะแก้รายมาตรา แต่ที่ดูจะเป็นความกังวลกับรัฐบาลมากที่สุดคือ ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท
 
  ปัจจุบันร่าง พ.ร.บ.นี้อยู่ในชั้นของวุฒิสภา เชื่อว่าจะมีการพิจารณาอย่างชนิด “เข้มข้น” ไม่แพ้ในชั้นของสภาผู้แทนราษฎร ที่สุดแม้จะมีการแก้ไขไปจนถึงการตั้งกรรมาธิการร่วมแต่สุดท้าย “เสียงข้างมาก” ของสภาผู้แทนราษฎรก็สามารถยืนยันกฎหมาย แต่ก็ยังไม่สามารถประกาศใช้เพราะฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์ บอกไว้ล่วงหน้าแล้วว่า จะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่
 
  ระยะเวลา 2 เดือนในสมัยประชุมนี้จึงระทึกใจอย่างยิ่ง และไม่ใช่มีแค่กฎหมายสำคัญที่รัฐบาลหมายมั่นปั้นมือ ยังมีญัตติสำคัญอย่างการอภิปรายไม่วางใจรัฐบาลซึ่งเป็นมาตรการ “ตรวจสอบ” ขั้นสูงสุดรออยู่
 
  น็อกรัฐบาลได้หรือไม่ ยังไม่รู้  รู้แต่ว่าน่าจะ “ขยายแผล” ความไม่พอใจในผลงานของรัฐบาลให้กว้างขึ้นไปอีก
 
  ต้องยอมรับว่าหลายต่อหลายเรื่องของรัฐบาลล้วนเต็มไปด้วยคำถาม ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการน้ำจากวงเงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท ที่ป่านนี้ล่วงเลยมากว่า 22 เดือน แต่ก็ยังไม่สามารถเริ่มต้นโครงการ และเชื่อว่ากว่าที่จะสร้างความเข้าใจกับสังคมทั้งวงแคบและวงกว้าง ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงการก็น่าจะใช้เวลา 3-6 เดือน เป็นอย่างน้อย
 
  นอกจากนี้ยังมีนโยบายหลักซึ่งว่ากันว่าจะ “ชี้เป็นชี้ตาย” รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ นั่นคือ นโยบาย “จำนำข้าว” ที่นับวันจะ “ถลำลึก” ในการใช้งบประมาณไปอย่างมาก ท่ามกลางความสงสัยจากสังคมทั่วไปว่า เป็นนโยบายที่ชาติได้ประโยชน์จริงหรือ
 
  ใช่จะมีแค่นั้น นโยบายบางตัวเริ่มมีการ “โยนหินถามทาง” จากรัฐบาล ล่าสุดก็กรณี “จัดซื้อแท็บเล็ต” ให้นักเรียนทั่วประเทศ ที่มีผู้รู้ซึ่งเกี่ยวข้องในวงการศึกษาเสนอให้เงิน 3,000 บาท แทนการจัดซื้อ
 
  ในสถานการณ์รัฐบาลที่เป็นอยู่ในตอนนี้ บอกได้เลยว่า มีแต่  “ทรง” กับ “ทรุด” และยังหาจุดเปลี่ยนเพื่อกอบกู้ความนิยมทางการเมืองให้กลับคืนมา
 
  จะมีที่ดูจะ “เป็นคุณ” กับรัฐบาลก็ตรงที่ว่า “ทางเลือก” อีกขั้วอย่าง พรรคประชาธิปัตย์ ยังไม่สามารถสร้างทางเลือกในวงกว้างได้มากพอ
 
  ทั้งหมดยังอยู่ในวิสัยที่ “ทักษิณคิด ยิ่งลักษณ์ทำ” ประคับประคองได้.  

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สถานการณ์ยังไม่ถึงขั้นไว้วางใจ แก้ไข รธน. ยังไม่พ้นขีดอันตราย

LikePost โดย 0 สมาชิก :


 

Sitemap 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 
ร่วมขับเคลื่อนโดย