สนับสนุนเว็บ

ผู้เขียน หัวข้อ: รื้อระบบการศึกษารับเออีซี - เออีซี กับ ม.หอการค้าไทย  (อ่าน 75 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นๅยด้ามขวาน

  • ออฟไลน์
  • 49115
    30336
    64972



  • Administrator
  • *****
  • สมัครสมาชิกเมื่อ 17/07/2009
    YearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYears
  • กระทู้ : 49115
  • Like Post : 64972
  • Peny : 30336
  • 16

    • ดูรายละเอียด


  • เข้าใช้งานล่าสุดเมื่อ 14/พ.ย./22






 เหลือเวลาอีกไม่นานแล้วกับการลุ้น ตั้งหน้าตั้งตาคอยว่าจะเป็นไปในรูปแบบไหน กับการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 58 ที่ตั้งเป้าหมายหลักรวมกลุ่มเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน ทั้ง 10 ประเทศในอาเซียนให้สามารถเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน รวมไปถึงแรงงานฝีมือ และที่จะมองข้ามไม่ได้ คือ “การศึกษา” ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะเป็นแรงผลักดันให้เออีซีขับเคลื่อนไปอย่างราบรื่น ซึ่งทั้ง 10 ประเทศ โดยเฉพาะไทยต้องเรียนรู้และปรับตัวเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้
     
     แต่การศึกษาที่รองรับการรวมตัวของเออีซีของ “คนไทย” มาถูกทางและพร้อมรับมือแล้วหรือยัง โดย “ดร.ทรรศนะ บุญขวัญ” คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ให้คำตอบไว้ในรายการ “เศรษฐกิจติดจอ” ทางเดลินิวส์ทีวี เมื่อวันที่ 4 ต.ค. ที่ผ่านมา ว่า จากการที่องค์กรเวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม (ดับเบิลยูอีเอฟ) ได้เสนอรายงานผลการศึกษา ความสามารถในการแข่งขันโลก ปี 56-57 พบว่าคุณภาพการศึกษาทั้งระดับพื้นฐานมัธยมและอุดมศึกษาของไทยอยู่ในระดับรั้งท้ายหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน อยู่ที่อันดับที่ 8 จาก 10 ประเทศ แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีปัญหาด้านการศึกษาที่ต้องรีบเร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วน
     
     ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้เด็กไทยจะเรียนหนักทั้งวันธรรมดา หรือเรียนเสริมวันเสาร์-อาทิตย์ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับสิงคโปร์ที่ไม่ว่าจะวัดกี่ครั้งก็อยู่อันดับต้น ๆ จุดนี้จึงทำให้มองได้ว่า ทำไมประเทศนี้ถึงมีระดับการศึกษาที่ดูสูงกว่าการศึกษาของไทย ซึ่งคำตอบคือแตกต่างกันที่การส่งเสริมให้เด็กรับรู้ไม่เหมือนกัน เนื่องจากไทยเป็นรูปแบบการเรียนรู้ ที่ทำให้เด็กรู้สึกว่า เกรด สำคัญกว่า แต่ความหมายของการศึกษาที่แท้จริง ควรประกอบด้วย ทัศนคติ บวกด้วยทักษะ ความรู้ และบูรณาการได้ นำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ แต่การศึกษาที่เป็นแบบความรู้อย่างเดียว ทำให้ขาดทัศนคติและทักษะ ทั้งทักษะในอาชีพต่าง ๆ ทักษะการเป็นมนุษย์ และทักษะการแก้ปัญหา ซึ่งไทยขาดจุดนี้ไป
     
     ’เด็กไม่มีศีลธรรม ลอกข้อสอบ จดโพย เพื่อให้ตัวเองรอด เพราะหากเกรดไม่ดี จะโดนผู้ปกครองว่า และสมัยนี้ไม่ได้มีเฉพาะเด็ก ในผู้ใหญ่ที่จะสอบบรรจุข้าราชการก็มี และที่สำคัญเป็นการสอบบรรจุข้าราชการครู ซึ่งตามจริงแล้วหากมองภาพรวมไม่ว่าระบบไหนก็มีปัญหา ที่สะท้อนให้เห็นว่าการศึกษาต้องยกเครื่องใหม่”
     
     นอกจากนี้ หากย้อนไปตอนที่ระบบการศึกษาไทย ตัดสินใจยกเลิกระบบเอนทรานซ์ มาเป็นแอดมิชชั่น ด้วยเหตุผลที่คิดว่าเด็กเครียด เด็กไม่เรียนในห้อง แต่เรียนพิเศษแทน แต่ปัจจุบันผ่านไป 10 ปี ถ้าวัดวัตถุประสงค์ที่ยกเลิก ถามว่าเด็กหายเครียดหรือเปล่า ก็ยังไม่หาย ผู้ปกครองก็ยังเครียด และโรงเรียนกวดวิชาก็มากกว่าเดิม แสดงให้เห็นว่าการแก้ไขการศึกษาไทยดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขอะไรได้เลย
     
     เป็นที่น่าสังเกตว่าเด็กมักจะเลือกเรียนต่อมัธยมปลาย มากกว่าเรียนวิชาชีพ เพราะมีค่านิยมว่าต้องเรียนต่อเพื่อให้ได้ใบปริญญา ทั้ง ๆที่การเรียนด้านวิชาชีพเฉพาะเป็นการได้ฝึกประสบการณ์และมีทักษะมากกว่า เหมาะสำหรับการเข้ามาเติมเต็มคำว่า ขาดฝีมือแรงงาน
     
     ที่สำคัญมั่นใจได้เลยว่า หากการศึกษาเป็นแบบเดิม ไม่มีการปรับเปลี่ยน จะส่งผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะการเปิดเออีซีอย่างแน่นอน เนื่องจากการรวมตัวของ 10 ประเทศ จะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ และหากไม่สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา โดยเฉพาะวิชาชีพ ทำให้ไทยไม่สามารถสู้ประเทศอื่นได้ และสิ่งที่ต้องพัฒนา คือ “ภาษา” เพราะภาษาอังกฤษที่วัดจาก 54 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ไทยอยู่อันดับที่ 53 ซึ่งความสามารถเรื่องภาษาของไทยในการแข่งขันไม่มีอยู่แล้ว หากทำการค้าขายจะไม่มีทางสู้ได้ เพราะดัชนีชี้วัดการแข่งขันของไทยเกือบรั้งท้าย ซึ่งการศึกษาถือเป็นส่วนสำคัญที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง หากทักษะเราไม่มี แรงงานก็ไม่ดี ไม่สามารถสู้ในระยะยาวได้ เพราะทุกวันนี้เด็กทุกคนเรียนเพื่อไปสอบ ไม่ได้เรียนเพื่อเรียนรู้”
     
     ดร.ทรรศนะ บอกด้วยว่า ไทยควรเร่งแก้ไขระบบการศึกษาใหม่ทั้งหมด ด้วยการปฏิรูปการศึกษา โดยต้องมีการหารือร่วมกัน ทั้งภาครัฐ ครู ผู้ปกครอง นักเรียน บริษัทเอกชน ห้างร้านต่าง ๆ และสื่อมวลชน ที่ดำเนินการในเรื่องการศึกษาอย่างจริงจัง อย่าทำแค่เพียงเป็นกระแส โดยผู้ปกครองไม่ควรบังคับให้เด็กเรียนในสิ่งที่ไม่ชอบ และเด็กไม่ควรเรียนตามกระแส รวมทั้ง ดัชนีชี้วัดของหน่วยงานรัฐที่ให้วัด แล้วไม่ดีขึ้น ตั้งดัชนีผิด ก็วัดผิดทาง แม้จะไม่สามารถแก้ได้ทันที แต่ควรถือจุดนี้เป็นโอกาสยกเครื่องการศึกษาไทยในการเริ่มต้นทำแบบที่แท้จริงคือทวิภาคี.  วุฒิชัย มั่งคั่ง  



ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คุณไม่สามารถมองเห็น links ได้ กรุณา.สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ
รื้อระบบการศึกษารับเออีซี - เออีซี กับ ม.หอการค้าไทย

LikePost โดย 0 สมาชิก :


 

Sitemap 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 
ร่วมขับเคลื่อนโดย