สนับสนุนเว็บ

ผู้เขียน หัวข้อ: ‘ดอกบัวบานในธารวรรณกรรม’สานมิตรไทย-เวียดนาม  (อ่าน 118 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Permalink: ‘ดอกบัวบานในธารวรรณกรรม’สานมิตรไทย-เวียดนาม

11/ต.ค./13 หัวข้อไอดี: 16024165 | ลิ้งค์หัวข้อ: /topic/16024165

ออฟไลน์ นๅยด้ามขวาน

  • ออฟไลน์
  • 49115
    30336
    64972



  • Administrator
  • *****
  • สมัครสมาชิกเมื่อ 17/07/2009
    YearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYears
  • กระทู้ : 49115
  • Like Post : 64972
  • Peny : 30336
  • 16

    • ดูรายละเอียด


  • เข้าใช้งานล่าสุดเมื่อ 14/พ.ย./22




                                                                                                                                       


 ขึ้นชื่อว่า “วรรณกรรม” หลายประเทศย่อมมีการสร้างสรรค์และรวบรวมผลงานไว้ให้คนในชาติได้อ่านได้ศึกษา ถือเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่นำเรื่องราววิถีชีวิตสังคมในแง่มุมต่างๆ ถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือ ให้ผู้คนได้จินตนาการและสัมผัสกับอรรถรสที่นักเขียนได้รังสรรค์ไว้  ยุคนี้ ถึงแม้วรรณกรรมจะไม่เฟื่องฟูมากเหมือนในอดีต เพราะสังคมโลกเปลี่ยนไปสู่ยุคโซเชียลเน็ตเวิร์ก ยุคดิจิตอล แต่วรรณกรรมก็ยังคงมีเสน่ห์ ในเล่มหนังสือที่จะให้คนได้ถืออ่าน และสามารถแปรเปลี่ยนมาอยู่บนโลกออนไลน์ได้โดยไม่เสียอรรถรสของเรื่องราว  เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป จึงเกิดคำถามขึ้นว่า “หนังสือจะหายไปจากโลกนี้หรือไม่” ทำให้หลายประเทศ เริ่มมีการปรับตัว รวบรวมหนังสือวรรณกรรมที่มีอยู่ เพื่อเก็บรักษาและนำมาถ่ายทอดในรูปแบบสื่อดิจิตอล หรือ เรียกให้ทันสมัยว่า “อีบุ๊คส์” โดยยังคงไม่ทิ้งรากเหง้าแห่งวรรณกรรมที่เป็นตัวหนังสือ เพื่อให้คงความมีชีวิต ไม่ล้มหายตายจากโลกใบนี้ไป  ในส่วนของประเทศไทยเอง ก็ได้มีการส่งเสริมให้คนไทยอ่านวรรณกรรม ถึงแม้จะต้องออกแรงมากสักหน่อย จากเหตุที่เด็กรุ่นใหม่อ่านน้อยลง รวมทั้งมีการร่วมมือกับกลุ่มประเทศอาเซียนในการร่วมกันแลกเปลี่ยน เรียนรู้ด้านวรรณกรรมระหว่างกันเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่ง สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) นำโดย นาย เขมชาติ เทพไชย ผอ.สศร. นำคณะศิลปินแห่งชาติ อย่างอาจารย์สถาพร ศรีสัจจัง อาจารย์ประภัสสร เสวิกุล และนายเจน สงสมพันธ์ นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ไปร่วมแลกเปลี่ยนการส่งเสริมงานวรรณกรรม ที่ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พร้อมไปเปิดตัวหนังสือ “ดอกบัวบานในธารวรรณกรรม” ซึ่งเป็นความร่วมมือ ภายใต้ โครงการวรรณกรรมสัมพันธ์ ไทย-เวียดนาม  การเปิดตัวหนังสือจัดขึ้นที่ “สมาคมนักเขียนเวียดนาม” มีนายหิว ถิ๋นห์ นายกสมาคมนักเขียนเวียดนามให้การต้อนรับ โดยนายเขมชาติ สะท้อนมุมมองความร่วมมือไว้ว่า การมาเปิดตัวหนังสือดอกบัวบานในวรรณกรรมนั้น เป็นการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนาม เนื่องจากที่ผ่านมาเราค่อนข้างจะเหินห่างกัน เหมือนเพื่อนบ้านที่อยู่ไกลกัน แต่งานวรรณกรรมจะทำให้ไทย-เวียดนามได้ใกล้ชิดกันและรู้จักกันมากขึ้น โดยมีการศึกษาว่า แต่ละประเทศได้เขียนอะไรไว้บ้าง โดยเฉพาะเรื่อง สังคม วัฒนธรรม นำมาแลกเปลี่ยนกัน นำวรรณกรรมที่คล้ายคลึงกัน มีความโดดเด่นคัดเลือกมา 10 เรื่อง และบทกวี 20 เรื่อง มาพิมพ์เป็นหนังสือ “ดอกบัวบานในธารวรรณกรรม”แปลเป็น 3 ภาษา ไทย อังกฤษ และเวียดนาม เพื่อให้คนทั้ง 2 ประเทศได้ศึกษาเรียนรู้ร่วมกัน  “ผมพบว่า เวียดนามได้ปรับหลักสูตรการเรียนการสอนด้านภาษาและวรรณกรรมในปี 2556-2563 เพื่อให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจวรรณกรรมของเวียดนาม และกลุ่มประเทศอาเซียนมากขึ้น ดังนั้น สศร.จึงอยากให้ประเทศไทยได้ศึกษาต้นแบบการส่งเสริมการอ่านวรรณกรรมจากประเทศเวียดนามมาปรับใช้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ผมยังจะได้มาศึกษาองค์ประกอบและรูปแบบการจัดแสดงผลงานของวิหารวรรณกรรม พิพิธภัณฑ์ศิลปกรรม ศึกษาสภาพเศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิต ในการนำไปปรับแผนงานส่งเสริมให้คนไทยรู้จักเวียดนามในมุมมองศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยมากขึ้น ก่อนที่จะมีการเปิดประชาคมอาเซียนในปี 2558 อีกทั้ง จะหางานวรรณกรรมที่มีคุณค่าของไทยเก็บรวบรวมไว้ เพื่อเตรียมจัดทำในรูปแบบอีบุ๊คส์ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้อ่านผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ผมถือว่า เป็นอีกช่องทางที่จะใช้เผยแพร่วรรณกรรมดี ๆ คาดว่า ในอนาคต เราจะนำหนังสือ ดอกบัวบานในธารวรรณกรรม ทำเป็นอีบุ๊คส์ ให้คนได้อ่านด้วย” ผอ.สศร.กล่าว  อีกมุมมองของ นาย หิว ถิ๋นห์ นายกสมาคมนักเขียนเวียดนาม กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า การนำวรรณกรรมมาเชื่อมสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ เป็นแนวคิดที่ดีมาก เป็นการเปิดหน้าต่างเรียนรู้กันและกัน ก่อนที่เราจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวรรณกรรมของไทยกับเวียดนามมีมาอย่างต่อเนื่อง บางครั้งอาจจะมีช่วงหยุดชะงักบ้าง แต่เราก็มีการสื่อสารกันโดยตลอด ครั้งนี้ก็เป็นความร่วมมือกันอีกครั้ง ที่ได้สร้างสรรค์หนังสือ “ดอกบัวบานในธารวรรณกรรม” ร่วมกัน ซึ่งทางสมาคมนักเขียนเวียดนาม ได้คัดเลือกนักเขียนให้หลากหลาย เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวทุกแง่มุมของเวียดนามให้คนไทยและชาวโลกได้อ่าน นอกจากนี้ ในยุคที่อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตมนุษย์ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นของเวียดนาม เราก็จะนำวรรณกรรมในหนังสือเล่มนี้ มาถ่ายทอดผ่านเว็บไซต์ของสมาคมเพื่อให้ได้ดาวน์โหลดไปอ่านกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งต้องยอมรับว่า สถานการณ์การอ่านหนังสือของเด็กและเยาวชนไม่เฉพาะที่เวียดนามลดลง เด็กหันไปบริโภคการอ่านผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ก็ทำให้เราต้องปรับตัว แต่หนังสือก็คงยังมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างสรรค์ไว้อยู่  ขณะที่ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ของไทย อย่าง อาจารย์ สถาพร ศรีสัจจัง สะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับงานวรรณกรรมไว้ว่า แม้ว่าทุกวันนี้ แต่ละประเทศจะมีการแข่งขันทางเศรษฐกิจ จนเกิดความขัดแย้งระหว่างกัน แต่เชื่อว่า ศิลปวัฒนธรรม จะเป็นตัวเชื่อมร้อยให้ประชาชาติเข้าใจกัน สามารถสร้างสันติ ที่แท้จริง และทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งได้ ดังนั้นจึงควรผลักดันให้ศิลปวัฒนธรรม เป็นเครื่องมือเชื่อมประชาชาติอาเซียนเข้าด้วยกัน เห็นตัวอย่างที่ชัดเจนได้จากงานวรรณ กรรมทุกสาขา เป็นโปรแกรมเมอร์ ทางประวัติศาสตร์ ที่ช่วยสร้างความสำนึกรักชาติ ให้กับแต่ละชาติ แต่ปัญหาคือ การที่ประชาชาติ จะเห็นความสำคัญของงานศิลปวัฒนธรรมมากเพียงใด ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการพัฒนาของประเทศ จะไม่มีทางพัฒนาก้าวหน้าเกินกว่าคุณภาพของประชากรได้ แต่วัฒนธรรมสามารถเป็นตัวกำหนดได้  สำหรับเด็กและเยาวชนเวียดนาม อย่าง น้องกวน โง หรือมีชื่อไทยว่า ศรันย์ บอกว่า ชอบเรียนภาษาไทย ได้เรียนตอนที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม ซึ่งมีสอนภาษาไทย ก็ได้เรียนได้อ่านหนังสือไทย จนสามารถพูดและเขียนภาษาไทยได้ และตอนนี้ก็กำลังแปลละครซีรีส์ฮอร์โมนฯ ที่โด่งดังในประเทศไทย เป็นซับไตเติ้ลภาษาเวียดนามให้วัยรุ่นเวียดนามได้ติดตามด้วย ส่วนเรื่องของวรรณกรรมหรือหนังสือต่าง ๆ ในเวียดนาม ต้องยอมรับว่า เปลี่ยนไป เด็กจะหาอ่านในเว็บไซต์เป็นหลัก เพราะบางครั้งหนังสือมีราคาแพง แต่ในเว็บไซต์ไม่ต้องเสียเงิน ซึ่งศรันย์ชอบมางานเปิดตัวหนังสือ เพราะเป็นคนชอบอ่าน อย่างเช่น หนังสือดอกบัวบานในธารวรรณกรรม เป็นหนังสือดีเล่มหนึ่งที่เด็กเวียดนามที่อ่านภาษาไทยได้ให้ความสนใจ  งานวรรณกรรม ถือเป็นศาสตร์หนึ่งที่ทำให้คนได้เรียนรู้ความเป็นมาเป็นไประหว่างกัน เปรียบเหมือนหน้ากระจก สะท้อนสังคม เป็นประตูที่เชื่อมถึงกัน เราคงต้องจับตากันแล้วว่า แวดวงวรรณกรรมแต่ละประเทศ จะปรับตัวสู่โลกยุคดิจิตอลอย่างไร ผู้บริหารบ้านเมืองไหน จะใช้ความชาญฉลาดในการรักษาวรรณกรรมไม่ให้จางหายไปจากวิถีชีวิตของชนในชาติ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ได้มากกว่ากัน จึงถือเป็นเรื่องท้าทายฝีมือยิ่งนัก.  มนตรี ประทุม  



ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คุณไม่สามารถมองเห็น links ได้ กรุณา.สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ
‘ดอกบัวบานในธารวรรณกรรม’สานมิตรไทย-เวียดนาม

LikePost โดย 0 สมาชิก :


 

Sitemap 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 
ร่วมขับเคลื่อนโดย