สนับสนุนเว็บ

ผู้เขียน หัวข้อ: สมศ.โรดโชว์1ช่วย9ดินแดนผู้ดี เผยนวัตกรรมประเมินแบบใหม่ นำเทรนด์สร้างสังคมโลกน่าอยู่  (อ่าน 91 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นๅยด้ามขวาน

  • ออฟไลน์
  • 49115
    30336
    64972



  • Administrator
  • *****
  • สมัครสมาชิกเมื่อ 17/07/2009
    YearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYears
  • กระทู้ : 49115
  • Like Post : 64972
  • Peny : 30336
  • 16

    • ดูรายละเอียด


  • เข้าใช้งานล่าสุดเมื่อ 14/พ.ย./22




                                                                                                                                       


 "วันฟอร์ไนน์" (1 for 9) ไม่ใช่ชื่อองค์กรการกุศล แต่เป็นชื่อเรียกภาษาอังกฤษของโครงการ 1 ช่วย 9 ห่วงโซ่คุณภาพการศึกษา ริเริ่มโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เริ่มใช้ในการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษารอบสาม ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา โดยสถานศึกษาที่เป็น 1 แห่ง เรียกว่า สถานศึกษาแม่ข่าย คุณสมบัติที่ต้องมีคือผ่านการประเมินในระดับดีมาก จากนั้นเสนอตัวเพื่อให้ความช่วยเหลือในด้านวิชาการและอื่นๆ แก่สถานศึกษาเครือข่าย อย่างน้อย 9 แห่ง ให้นำไปสู่เป้าหมายคือผลประเมินที่ดีขึ้น  ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผอ.สมศ. ในฐานะเจ้าของแนวคิดโครงการ เล่าว่า ความเป็นมาที่ต้องการให้เกิดโครงการนี้ขึ้น เนื่องมาจากปริมาณของสถานศึกษาโดยเฉพาะในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีโรงเรียนขนาดเล็กจำนวนมาก จากผลการประเมินยังพบปัญหาซ้ำซาก อาทิ ครูไม่ครบชั้น สอนไม่ตรงวิชา ขาดสื่อการเรียนการสอน และนักเรียนมีผลการเรียนตกต่ำ ดังนั้นการเข้าไปให้ความช่วยเหลือแก้ปัญหาโดยภาครัฐอาจทำได้ไม่ทั่วถึง ดังนั้นโครงการหนึ่งช่วยเก้าจะเข้าไปช่วยทำหน้าที่นี้ ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากสถานศึกษาเข้าร่วมในโครงการแล้ว 2,070 แห่ง แบ่งเป็นสถานศึกษาแกนนำ 207 แห่ง และสถานศึกษาเครือข่าย 1,863 แห่ง  "จุดเด่นของโครงการนี้คือเราไม่มีงบประมาณใดๆ ให้แก่สถานศึกษา ทั้งที่เป็นแม่ข่ายและไม่มีงบประมาณสำหรับไปให้การช่วยเหลือลูกข่ายทั้ง 9 แห่งด้วย เพราะการให้ความช่วยเหลือส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการให้คำแนะนำในจุดบกพร่องที่เกิดขึ้นเพื่อให้เกิดการปรับปรุง อย่างไรก็ตามในแต่ละปีพบว่ามีสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการเพิ่มมากขึ้น จากปีแรกตั้งเป้าให้มีสถานศึกษาแม่ข่าย 9 แห่ง จากนั้นในปีต่อมาได้สถานศึกษาแม่ข่ายเพิ่มอีกปีละ 99 แห่งจนถึงปัจจุบัน สำหรับผลการประเมินสถานศึกษาเครือข่ายว่าดีขึ้นหรือไม่นั้น เท่าที่ดูคร่าวๆ พบว่า หลายแห่งดีขึ้นจากเดิม แต่อีกหลายแห่งก็ยังไม่ได้รับการประเมิน หรือบางแห่งที่ประเมินไปแล้วผลประเมินยังไม่ออกมาก็มี โดย สมศ.จะนำผลการประเมินของโรงเรียนเครือข่ายทั้งหมดไปวิจัยเพื่อดูว่าโครงการนี้สามารถตอบโจทย์การพัฒนาแบบห่วงโซ่คุณภาพจริงหรือไม่เพียงใด" ผอ.สมศ.กล่าว  ส่วนความคืบหน้าล่าสุดของโครงการหนึ่งช่วยเก้า... เมื่อเร็วๆ นี้ ศ.ดร.ชาญณรงค์ ได้นำคณะผู้บริหาร อาทิ ศ.พิเศษ ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี ประธานคณะกรรมการบริหาร สมศ.และประธานกรรมการพัฒนาระบบประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา พร้อมด้วย ดร.สมเกียรติ ชอบผล ประธานกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน เดินทางไปนำเสนอรูปแบบโครงการหนึ่งช่วยเก้า หรือในชื่อ วันฟอร์ไนน์ ตามเทียบเชิญจากหน่วยงานประเมินคุณภาพภายนอกของอังกฤษ มีชื่อว่า ซีเอฟบีที เอ็ดดูเคชั่น ทรัสต์ (CfBT Education Trust) ณ สำนักงานใหญ่ซีเอฟบีที เมืองรีดดิ้ง ประเทศอังกฤษ  สำหรับกลุ่มโรงเรียนนานาชาติในไทยที่ใช้หลักสูตรการเรียนการสอนจากอังกฤษจะรู้จักกับซีเอฟบีทีเป็นอย่างดี ในฐานะเป็นหน่วยงานทำหน้าที่รับรองมาตรฐานการศึกษาและประเมินคุณภาพโรงเรียน ทั้งนี้รูปแบบหน่วยประเมินสถานศึกษาของอังกฤษ สามารถจัดตั้งขึ้นได้อย่างเป็นอิสระในฐานะองค์กรไม่หวังผลกำไร ดำเนินงานด้วยงบประมาณบางส่วนจากรัฐบาลและเงินจากกองทุนที่จัดตั้งขึ้น ซึ่งในทุกครั้งที่เข้าประเมินจะได้รับค่าใช้จ่ายการประเมินจากสถานศึกษา โดยซีเอฟบีทีก่อตั้งมานาน 45 ปี มีภารกิจให้ความช่วยเหลือทางวิชาการด้านการรับรองมาตรฐานการศึกษาและประเมินคุณภาพให้กับโรงเรียนมากกว่า 4,000 แห่งใน 80 ประเทศทั่วโลก  "โทนี่ แมกอะลีวี" ผอ.ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ซีเอฟบีที กล่าวว่า หลังจากรับฟังรายละเอียดโครงการฯแล้ว รู้สึกตื่นเต้นมากกับรูปแบบการให้ความช่วยเหลือกันเองระหว่างโรงเรียน ซึ่งในอังกฤษก็มีโครงการลักษณะคล้ายคลึงกัน เรียกว่าทีชชิ่งสกูล (Teaching School) โดยรัฐบาลอังกฤษจะคัดเลือกโรงเรียนชั้นนำที่มีผลการเรียนการสอนดี จำนวน 500 แห่ง และส่งเสริมให้โรงเรียนกลุ่มนี้ให้ความช่วยเหลือโรงเรียนอื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง โดยประสบการณ์ของอังกฤษ พบว่า ผลสำเร็จเกิดขึ้นอย่างมากเพราะการถ่ายทอดประสบการณ์ระหว่างกัน ในกลุ่มโรงเรียนด้วยกันจะเข้าใจกันได้มากกว่าการที่รัฐบาลหรือกระทรวงจะเข้าไปควบคุมหรือสั่งการ นอกจากนี้ยังพบด้วยว่า นโยบายลักษณะนี้ช่วยสร้างการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนได้เป็นอย่างดี  ด้าน "เซอร์ จิม โรส" ฝ่ายพัฒนาและวิจัย ซีเอฟบีที กล่าวว่า ปัจจุบันสถานศึกษาในอังกฤษก็มีการพูดกันมากถึงเรื่องการประกันคุณภาพ ในแง่ที่ว่าการประเมินสถานศึกษาก่อให้เกิดการแข่งขัน แก่งแย่งเพื่อให้มีผลการประเมินออกมาดี มากกว่าการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกัน อย่างไรก็ตามรัฐบาลอังกฤษเข้าใจดีว่าคุณภาพการศึกษาจะเกิดขึ้นได้ถ้าทุกฝ่ายร่วมมือกัน ดังนั้นจึงริเริ่มโครงการต่างๆ ที่จะสนับสนุนให้สถานศึกษามีความรับผิดชอบต่อสังคม  ทั้งนี้ในการประชุมร่วมกันระหว่างหน่วยงานประเมินของสองประเทศ ทาง ซีเอฟบีที ได้เชิญโรงเรียนและหน่วยงานด้านการศึกษาของอังกฤษที่สนใจโครงการหนึ่งช่วยเก้าเข้าร่วมด้วย อาทิ สถานศึกษาชั้นนำของอังกฤษที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นทีชชิ่งสกูล, ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ ออกซ์ฟอร์ด(University of Oxford), ไวท์ฮอส เฟ็ดเดอเรชั่น (White Horse Federation), ทีชเฟิร์ส(Teach First), บริติช เคาน์ซิล(British Council), สถาบันฝึกหัดครู (Teaching School Alliance) และสถาบันส่งเสริมกิจกรรมอาสาสมัครในต่างประเทศ (Latitude Global Volunteering) เป็นต้น โดยแต่ละหน่วยงานมีส่วนในการส่งเสริมบัณฑิตหรือผู้เรียนและครูให้มีการฝึกประสบการณ์ในต่างประเทศอยู่แล้ว ดังนั้นบรรยากาศในที่ประชุมจึงเป็นด้วยดี หลายหน่วยงานแสดงความสนใจและยินดีทำความร่วมมือเพื่อสานต่อความคืบหน้าโครงการฯ ร่วมกันทันที  ทั้งนี้มีความเห็นที่น่าสนใจจากผู้แทนหน่วยงานต่างๆ อาทิ แนวคิดที่มองข้อดีของการได้ช่วยเหลือผู้อื่นคือ ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือจะมองปัญหาของตัวเองชัดยิ่งขึ้น และการเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติได้ร่วมมือในการศึกษาข้อดีข้อด้อยจะทำให้เห็นทางแก้ไขในชั้นเรียนได้ ส่วนการสร้างความร่วมมือระหว่างกันกับ สมศ.นั้น บางหน่วยงานเล็งเห็นว่าจะเป็นโอกาสให้ครูหรือนักศึกษาครูอาสาสมัครจากอังกฤษได้เรียนรู้วัฒนธรรมของไทย และสนใจเรื่องการฝึกหัดครูในสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาฝึกหัดครูได้เรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของตัวเองดียิ่งขึ้น  อย่างไรก็ตาม สมศ.และซีเอฟบีที กำลังจะมีความร่วมมืออย่างเป็นทางการ ซึ่งจะชัดเจนขึ้นในงานการประชุมวิชาการนานาชาติ การประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปี 2556 (International Conference on QA Culture: Cooperation or Competition) ระหว่างวันที่ 7-8 พฤศจิกายนนี้ ที่ศูนย์แสดงนิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพมหานคร โดยในงานจะมีพิธีลงนามความร่วมมือเพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาและหน่วยงานอังกฤษเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาในโครงการหนึ่งช่วยเก้าในประเทศไทยต่อไป  จากผลลัพธ์ของการนำพาโครงการหนึ่งช่วยเก้า ไปขยายผลถึงต่างแดนครั้งนี้ ทำให้เรียนรู้ว่า "การให้" สามารถเกิดและเติบโตได้ทุกที่ ไม่ว่าจะอยู่ในวัฒนธรรมของชาติตะวันออกหรือตะวันตก ทั้งยังช่วยสร้างมิตรไมตรีที่ดีได้เสมอ ดังนั้นผู้บริหาร สมศ.จึงเชื่อว่า หากวัฒนธรรมหรือนวัตกรรมการประเมินด้วยการช่วยเหลือกันเกิดขึ้นได้ในทุกประเทศ สังคมโลกก็คงจะน่าอยู่มากยิ่งขึ้นไปด้วยแน่นอน  จินดาวัฒน์ ลาภเลี้ยงตระกูล  



ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คุณไม่สามารถมองเห็น links ได้ กรุณา.สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ
สมศ.โรดโชว์1ช่วย9ดินแดนผู้ดี เผยนวัตกรรมประเมินแบบใหม่ นำเทรนด์สร้างสังคมโลกน่าอยู่

LikePost โดย 0 สมาชิก :


 

Sitemap 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 
ร่วมขับเคลื่อนโดย