สนับสนุนเว็บ

ผู้เขียน หัวข้อ: เร่งแผน...สกัดการกัดเซาะทะเล - หลากเรื่องราว  (อ่าน 138 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Permalink: เร่งแผน...สกัดการกัดเซาะทะเล - หลากเรื่องราว

16/ต.ค./13 หัวข้อไอดี: 16025351 | ลิ้งค์หัวข้อ: /topic/16025351

ออฟไลน์ นๅยด้ามขวาน

  • ออฟไลน์
  • 49115
    30336
    64972



  • Administrator
  • *****
  • สมัครสมาชิกเมื่อ 17/07/2009
    YearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYears
  • กระทู้ : 49115
  • Like Post : 64972
  • Peny : 30336
  • 16

    • ดูรายละเอียด


  • เข้าใช้งานล่าสุดเมื่อ 19 ชั่วโมงที่แล้ว






 ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลพบว่าหลายจังหวัดอยู่ในภาวะวิกฤติหนัก จากวิกฤติ การณ์ดังกล่าว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้จัดทำแผนป้องกันการกัดเซาะทะเลทั่วประเทศใหม่ โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งสกัดปัญหากัดเซาะชายฝั่งทะเลที่กำลังลุกลาม ปัจจุบันชายฝั่งทะเลทั้งอ่าวไทยและอันดามันมีระยะทางยาว รวม 3,148 กิโลเมตร จากการสำรวจพบว่าการกัดเซาะชายฝั่งทะเลด้านอันดามันปัญหากัดเซาะเกิดขึ้นน้อยกว่าชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย โดยพื้นที่ที่มีการกัดเซาะรุนแรงในอัตราเฉลี่ยมากกว่า 5 เมตรต่อปีใน 5 จังหวัด คือ ระนอง ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล และพื้นที่ที่มีอัตราการกัดเซาะปานกลางเฉลี่ย 1–5 เมตรต่อปีใน 6 จังหวัด ได้แก่ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล โดยทั่วไปพบว่าการกัดเซาะชายฝั่งทะเลด้านอันดามันเกิดขึ้นในพื้นที่หาดทรายมากกว่าที่ราบน้ำขึ้นถึงต่อเนื่องกับป่าชายเลน  ส่วนการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทย พื้นที่ที่มีอัตราการกัดเซาะรุนแรงเฉลี่ยมากกว่า 5 เมตร เกิดขึ้นใน 12 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส และพื้นที่ที่มีอัตราการกัดเซาะปานกลางเฉลี่ย 1-5 เมตรต่อปี มี 16 จังหวัด ได้แก่ ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทร สงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส ทั้งนี้ชายฝั่งทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบนตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จนถึงปากแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวและมีการกัดเซาะขั้นรุนแรงมากที่สุด  ทั้งนี้ พื้นที่ที่มีอัตราการกัดเซาะชายฝั่งทะเลมากกว่า 5 เมตรต่อปี ซึ่งถือเป็นพื้นที่วิกฤติหรือพื้นที่เร่งด่วน จากข้อมูลย้อนหลังเมื่อ 50 ปีที่แล้วพบว่าชายฝั่งถูกกัดเซาะไปราว 830 กม. สูญเสียพื้นที่ชายฝั่งของประเทศไทยไปแล้วไม่น้อยกว่า 113,042 ไร่ คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียเฉพาะค่าที่ดินประมาณกว่า 1 แสนล้านบาท อีกทั้งมีแนวโน้มว่าหากไม่ดำเนินการใด ๆ คาดว่าจะต้องสูญเสียที่ดินชายฝั่งอีกหลายหมื่นไร่ในอนาคต  นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวถึงปัญหากัดเซาะชายฝั่งทะเลว่า จากวิกฤติการณ์ดังกล่าวขณะนี้ ทส. ได้ทบทวนยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็นการเร่งด่วนแล้วเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศ โดยเน้นพิจารณาแนวทางบูรณาการให้เกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพเป็นรูปธรรมมากที่สุดและเห็นผลเร็วที่สุด  สำหรับประเทศไทยปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง มี 2 สาเหตุหลัก ๆ คือ กระบวนการชายฝั่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ คลื่น ลมพายุ กระแสน้ำขึ้น-น้ำลง อีกสาเหตุเกิดขึ้นจากกิจกรรมการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ได้แก่ การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งรองรับอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว  สาธารณูปโภคพื้นฐาน การสูบน้ำบาดาล การบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลน เป็นต้น     ซึ่งผลกระทบจากปัญหากัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากบริเวณที่เป็นชายฝั่งทะเลเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมจีดีพีของประเทศส่วนใหญ่มาจากภาคส่งออก ภาคท่องเที่ยวซึ่งชายฝั่งทะเลเป็นปัจจัยพื้นฐานและสิ่งดึงดูดที่สำคัญ  ทั้งนี้นอกจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากการสูญเสียที่ดินชายฝั่งนับแสนไร่ คิดเป็นมูลค่าเสียหายกว่าแสนล้านบาทแล้ว ยังมีผลกระทบต่อประชาชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ตามแนวชายฝั่ง ที่ต้องอพยพรื้อบ้านหนีน้ำทะเลกัดเซาะและมาสร้างบ้านเรือนใหม่  อีกทั้งยังส่งผลให้สภาพพื้นที่เปลี่ยน แปลงไปทำให้จำนวนสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งเปลี่ยนแปลงลดลง การประกอบอาชีพฝืดเคือง รายได้ก็ลดลงตาม ในขณะผลกระทบต่อภาคธุรกิจ ทำให้ชายฝั่งเสื่อมโทรม เสียชายหาดสวยงาม กระทบต่อการท่องเที่ยว ทำให้รัฐทุ่มงบแก้ไข และเสียโอกาสในการพัฒนาประเทศด้านอื่น โดยขอยกตัวอย่างที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัญหาการกัดเซาะชาย ฝั่ง อาทิ เทศบาลบางแสนต้องใช้เงินในการเติมทรายชายหาดทุกสัปดาห์เพื่อให้มีชายหาดให้นักท่องเที่ยวได้เดินเล่น ส่วนชุมชนชายฝั่งบ้านแสมขาว หมู่ที่ 3 ต.คลองสอง อ.บางปะกง  จ.ฉะเชิงเทรา มีรายจ่ายเพิ่มเพราะต้องซื้อน้ำกิน-น้ำใช้เนื่องจากภาชนะเก็บกักน้ำฝนถูกน้ำทะเลปนเปื้อนกับน้ำจืด  
     
     “ในปี 2557 ทส. เตรียมจัดสรรงบประมาณ 124.4 ล้านบาท ภายใต้แผนบูรณาการร่วมกับจังหวัดชลบุรี ในการแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งนำร่องในพื้นที่หาดจอมเทียน หาดพัทยา บริเวณเทศบาลเมืองอ่างศิลา ต.คลองตำหรุ และอ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โดยแผนบูรณาการครั้งนี้จะเน้นสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคประชาชน ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ของการจัดการปัญหากัดเซาะชายฝั่ง คือเราจะไม่มองเฉพาะการป้องกันและแก้ไขปัญหาเพียงมุมเดียว แต่มองถึงโอกาสในการพัฒนา การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการยกระดับคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคมของผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ควบคู่ไปด้วย” นายวิเชษฐ์ กล่าว  นายวิเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า จังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดที่มูลค่าเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวสูงถึงปีละกว่า 65,400 ล้านบาท ถือเป็นจังหวัดต้น ๆ ที่ได้ริเริ่มดำเนินการจัดการชายฝั่งแบบบูรณาการรูปแบบ ICM (Integrated Coastal zone Management) ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดการที่นิยมแพร่หลายในขณะนี้ แนวทางดังกล่าวจะให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะผู้เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายฝั่งทะเลทั้งระบบ     ...ซึ่งนอกจากจังหวัดชลบุรีและพื้นที่อื่น ๆ ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ทส.ยังได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเดินหน้า ศึกษา สำรวจ และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพพื้นที่ชายฝั่งทั่วประเทศ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่งทะเลที่เกิดขึ้น รวบรวม และจัดระบบข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ของชุมชนในพื้นที่ชายฝั่งโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่วิกฤติหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการกัดเซาะชายฝั่งทั่วประเทศอย่างเร่งด่วน...  รวมทั้งทำระบบฐานข้อมูลที่มีมาตรฐาน และทันสมัย สามารถแสดงผลการประมวลข้อมูลสถานการณ์พื้นที่ชายฝั่งทะเลของประเทศ  เพื่อใช้ในการจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเลโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่วิกฤติหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการกัดเซาะชายฝั่งภายใต้มาตรการเชิงรุก เพื่อให้การติดตามและตรวจสอบสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเล ตลอดจนจัดทำระบบประเมินผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในระดับพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่น เอง รวมทั้งสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนทั้งปัจจุบันและในอนาคต.  



ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คุณไม่สามารถมองเห็น links ได้ กรุณา.สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ
เร่งแผน...สกัดการกัดเซาะทะเล - หลากเรื่องราว

LikePost โดย 0 สมาชิก :


 

Sitemap 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 
ร่วมขับเคลื่อนโดย