สนับสนุนเว็บ

ผู้เขียน หัวข้อ: 'ยุคล'เร่งขับเคลื่อนโซนนิ่ง ปรับนาข้าวเป็นไร่อ้อย  (อ่าน 82 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Administrators

  • ออฟไลน์
  • 382
    381
    1385



  • Genius
  • *****
  • สมัครสมาชิกเมื่อ 10/07/2009
    YearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYears
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้ : 382
  • Like Post : 1385
  • Peny : 381
  • 1

    • ดูรายละเอียด
    • ด้ามขวาน ดอทคอม

  • ผู้ก่อสร้างด้ามขวาน ดอทคอม

  • เข้าใช้งานล่าสุดเมื่อ 18/ก.ย./11





          

            

“ยุคล ลิ้มแหลมทอง” ประสานผู้ว่าฯ ขับเคลื่อนนโยบายโซนนิ่งระดับจังหวัด ปรับนาข้าวเป็นไร่อ้อย เร่งรัดหน่วยงานในพื้นที่ดำเนินการให้แล้วเสร็จใน 2-3 เดือน รับฤดูกาลปลูกอ้อย...

เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 56 นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมเป็นอ้อยโรงงาน ว่า กระทรวงเกษตรฯ จำเป็นต้องเร่งรัดดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมมาปลูกอ้อยโรงงานในพื้นที่เป้าหมาย 33 จังหวัด จำนวน 8 แสนไร่ โดยเฉพาะพื้นที่ 50 กิโลเมตรรอบโรงงานน้ำตาล 20 แห่ง ที่มีความต้องการวัตถุดิบเพิ่ม เพื่อให้ทันฤดูกาลปลูกอ้อยที่เหมาะสมของปีนี้ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือน พ.ย. หรือเรียกว่าช่วงข้ามแล้ง ที่ในช่วงเวลาดังกล่าวจะทำให้อ้อยมีเปอร์เซ็นต์ความหวานสูง น้ำตาลมีคุณภาพดี

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ขอความร่วมมือผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายโซนนิ่งระดับจังหวัด  เร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ดำเนินงานให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย ภายในระยะเวลา 2-3 เดือนนี้ โดยเฉพาะการให้ความรู้และทำความเข้าใจกับเกษตรกรในพื้นที่ ปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวมาเป็นอ้อยที่สร้างรายได้สูงกว่าหลายเท่า

สำหรับมาตรการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกอ้อย นอกจากการดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ.อ้อยน้ำตาล และโรงงานอ้อยน้ำตาล แล้ว ยังช่วยเหลือเงินลงทุนบางส่วน หรือเรียกว่า เงินเกี๊ยว เช่น ค่าต้นพันธุ์ ค่าปรับเปลี่ยนพื้นที่ เฉลี่ยไร่ 8,000 บาท ซึ่งถือว่ายังเป็นไปตามกลไกเดิมที่โรงงานให้การสนับสนุนแก่เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย นอกจากนี้ กรมพัฒนาที่ดิน และกรมชลประทานจะเข้าไปสนับสนุนเรื่องแหล่งน้ำขนาดเล็กให้แก่เกษตรกรควบคู่กันไปด้วย โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการให้ความรู้ด้านวิชาการ โดยเฉพาะการปรับปรุงพันธุ์อ้อน เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากจำนวนผลผลิตที่มากขึ้น จากปัจจุบันที่เกษตรกรผลิตได้เฉลี่ย 11 ตันต่อไร่ เพิ่มเป็น 15 ตันต่อไร่ โดยขณะนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการแล้วประมาณ 20,000 ไร่ ใน จ.มหาสารคาม  บุรีรัมย์ และกำแพงเพชร.

         

                

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คุณไม่สามารถมองเห็น links ได้ กรุณา.สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ
'ยุคล'เร่งขับเคลื่อนโซนนิ่ง ปรับนาข้าวเป็นไร่อ้อย

LikePost โดย 0 สมาชิก :


 

Sitemap 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 
ร่วมขับเคลื่อนโดย