สนับสนุนเว็บ

ผู้เขียน หัวข้อ: เป่านกหวีดสู้เหมาเข่ง'วิกฤติ'ระลอกใหม่  (อ่าน 85 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Permalink: เป่านกหวีดสู้เหมาเข่ง'วิกฤติ'ระลอกใหม่

31/ต.ค./13 หัวข้อไอดี: 16028357 | ลิ้งค์หัวข้อ: /topic/16028357

ออฟไลน์ นๅยด้ามขวาน

  • ออฟไลน์
  • 49115
    30336
    64972



  • Administrator
  • *****
  • สมัครสมาชิกเมื่อ 17/07/2009
    YearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYears
  • กระทู้ : 49115
  • Like Post : 64972
  • Peny : 30336
  • 16

    • ดูรายละเอียด


  • เข้าใช้งานล่าสุดเมื่อ 14/พ.ย./22


             ในที่สุดการเมืองไทยก็กลับมาเผชิญหน้ากันอีกครั้ง เป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างฝ่ายหนึ่งที่อ้างว่าต้องการให้ “เริ่มกันใหม่” แต่แท้จริงแล้วแฝงไว้ด้วยการล้างความผิดให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีได้ “กลับบ้าน” โดยไม่มีมลทิน กับอีกฝ่ายที่เอาด้วยหากจะนิรโทษกรรมกับประชาชนทั่วไปเหลือไว้แต่แกนนำเพื่อให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมพิสูจน์ความจริงและคันค้านอย่างถึงที่สุดกับการนิรโทษกรรมในคดี “ทุจริต”  ที่สำคัญฝ่ายคัดค้านอ้างว่าเพื่อต้องการรักษาหลัก “นิติรัฐ” ให้กับบ้านเมือง  ท่าทีที่ สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ นำคณะส.ส.ของพรรคแถลงข่าว “คัดค้าน” ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับ “สุดซอย-เหมาเข่ง” ที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 7 แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า พรรคที่รัฐสภา โดยได้อ่านแถลงการณ์ต่อต้านการที่รัฐบาล ผลักดัน ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม  โดยนายสุเทพ ระบุจะคัดค้านทั้งนอกและในสภาอย่างถึงที่สุด  สัญญาณ “เป่านกหวีด” แรกคือ การนัดชุมนุม “แต่งดำ” ที่บริเวณสถานีรถไฟสามเสน ในเวลา 18.00 น.ของวันที่ 31 ต.ค. ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่สภาผู้แทนราษฎรจะมีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมในวาระที่ 2 พอดี  การคัดค้านของพรรคประชาธิปัตย์ “รอบนี้” ถือว่าเป็น “ของจริง” ยิ่งกว่าการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของส.ว.ซะอีก หากย้อนกลับไปตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งเมื่อ 2 ปีก่อน พรรคประชาธิปัตย์ โดยการนำของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและ สุเทพ ประกาศไว้แล้วว่า จะไม่ยอมให้มีการ “ล้างผิด” เกิดขึ้น จนกระทั่งหลังการเลือกตั้งได้รัฐบาลพรรคเพื่อไทย มีความพยายามโยนหินถามทางกันมาเป็นระยะ ๆ พร้อม ๆ กับการเร่งเดินหน้าคดีการเสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุมท่ามกลางความสงสัยว่าเป็นการเพิ่มแรงบีบให้พรรคประชาธิปัตย์ยอมร่วมการนิรโทษกรรม จนกระทั่งมีการตั้งคณะกรรมาธิการที่มี “บิ๊กบัง” หรือ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ส.ส.และหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ อดีตประธานคมช.เป็นประธานจนนำมาซึ่งการเสนอร่างพ.ร.บ.ปรองดอง 4 ฉบับ จนถูกต่อต้านอย่างหนักและที่สุดก็ล่าถอยไปไม่มีการหยิบขึ้นมาพิจารณา จากนั้น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงในขณะนั้นก็เสนอร่างพ.ร.บ.ฉบับพาพ.ต.ท.ทักษิณ กลับบ้าน พร้อม ๆ กับที่ วรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ แกนนำนปช. พรรคเพื่อไทย เสนอร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชนไม่รวมแกนนำเข้าไป  แม้ร่างพ.ร.บ.ฉบับ วรชัย จะได้รับการสนับสนุนจาก “คนเสื้อแดง” แต่ก็มีบางประเด็นที่ถูกต่อต้าน รวมถึงการตั้งคำถามว่า จะมีการ “เปลี่ยนแปลง” ในชั้นกรรมาธิการได้หรือไม่ ที่สุด ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ อดีตส.ส.มหาสารคาม เจ้าของฉายา “หัวเขียง” ก็เสนอแก้ไขเปลี่ยนแปลง “หลักการ” ให้นิรโทษกรรมในทุกกรณีโดยมี “เสียงข้างมาก” สนับสนุน  ท่าทีดังกล่าวแม้ในชั้นแรกจะมีเสียงคัดค้านจากมวลชนคนเสื้อแดงและแกนนำบางส่วน แต่ทันทีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ส่งสัญญาณ “เซตซีโร่” หรือ “เริ่มนับหนึ่งกันใหม่” ออกมา จนทำให้พรรคเพื่อไทยมีมติสนับสนุนร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม เสียงค้านก็เงียบลง จะมีก็แต่ แนวร่วมคนเสื้อแดง อย่าง สมบัติ บุญงามอนงค์ และแดงวิชาการ เท่านั้นที่ยังไงก็ไม่เอาด้วย แต่การไม่เอาด้วยก็เป็นคนละความหมายกับของพรรคประชาธิปัตย์  มาถึงวันนี้ ชัดเสียยิ่งกว่าชัดว่า ทางที่เดินมาทั้งหมดมีเป้าหมายอยู่อย่างเดียวเท่านั้น คือการทำให้พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นจาก “ความผิด” และคดีความต่าง ๆ เพื่อพร้อมที่จะเดินทางกลับประเทศไทย  สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ จึงเป็นการเลือกระหว่าง จะเอาพ.ต.ท.ทักษิณ หรือจะเอาหลักนิติรัฐซึ่งเป็น “เสาหลัก” ของบ้านเมือง  น่าสนใจว่าการเป่านกหวีดของพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้ จะปลุกพลังสังคมได้มากน้อยขนาดไหน  อย่าลืมว่า สังคมส่วนใหญ่มองว่าเป็นความขัดแย้งแย่งชิงอำนาจทางการเมืองระหว่าง 2 ขั้ว และหากเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขึ้นมา วังวนที่ฝ่ายหนึ่งมาก็ถูกอีกฝ่ายหนึ่งไล่ ก็จะเกิดขึ้นอีก  แต่อีกทางหนึ่งก็ต้องยอมรับว่า สังคมอีกส่วนหนึ่งรู้สึกเดือดร้อนกับการบริหารงานของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หลายนโยบายที่หาเสียงไว้เริ่มเกิดปัญหา โดยเฉพาะนโยบาย “รับจำนำข้าว” ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากทุกฝ่ายว่า จะนำมาซึ่งความสูญเสียทางเศรษฐกิจของชาติอย่างมหาศาล  เมื่อความไม่พอใจในผลงานการบริหารของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ผู้เป็นน้องสาวของพ.ต.ท.ทักษิณ ประกอบกับ ความพยายามพาพ.ต.ท.ทักษิณ กลับบ้าน ท่ามกลางปัญหาบ้านเมืองที่มีอยู่สารพัด จนเกิดคำถามว่า ที่มาเป็นรัฐบาลวันนี้ มาเพื่อแก้ไขหรือมาเพื่อพาใครกลับบ้านกันแน่  พลังมวลชน จึงเป็นทางหนึ่งในการหยุดกระบวนการล้างผิดให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งน่าจะดีกว่าปล่อยให้ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมผ่านไปแล้วไปให้ “ตีความ” ในขั้นตอนของ ศาลรัฐธรรมนูญ แม้จะพิจารณาโดยหลักนิติศาสตร์ แต่ยังไงก็ต้องถูกข้อกล่าวหาว่าเป็น “ตุลาการภิวัฒน์” อยู่ดี  เป้าหมายของการชุมนุมจึงอยู่ที่การ “ถอน” ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมออกจากสภาเท่านั้นถึงจะ “หยุด” วิกฤติการเผชิญหน้าในครั้งนี้ แต่หากไม่ถอน การยกระดับการชุมนุมจะเกิดขึ้น และจะลามกลายเป็นการไล่รัฐบาลจนอาจจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้น  แม้จะมีการประเมินว่า พรรคเพื่อไทยพร้อมแล้วกับการยุบสภาเพราะเชื่อว่าด้วยศักยภาพในทุกด้านที่มีอยู่ การเซตซีโร่ทางการเมืองเพื่อกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง และใช้ “ชัยชนะ” จากการเลือกตั้งมาเป็นใบเบิกทางจึงน่าจะง่ายกว่า  พลังมวลชน จึงเป็น “ตัวชี้วัด” ทางการเมือง ที่ไม่ได้แค่อนาคตทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็น 2 ขั้วใหญ่ทางการเมือง แต่ยังจะชี้อนาคตสังคมไทยด้วยว่าการปรองดองที่ทุกฝ่ายคาดหวังจะ “เดินหน้า” หรือจะ “ถอยหลัง”  การเผชิญหน้าทางการเมืองจนส่อจะเป็น “วิกฤติ” ในครั้งนี้ ไม่ต่างอะไรกับครั้งที่พ.ต.ท.ทักษิณ ครั้งมีอำนาจและมาตามครรลองประชาธิปไตย “ยุบสภา” แทนที่จะลาออกเพื่อหวังใช้การเลือกตั้ง “ฟอก” ข้อกล่าวหาตัวเอง เมื่อปี 49 แต่แทนที่ทุกอย่างจะเป็นไปตาม “กติกา” ที่กำหนด พรรคประชาธิปัตย์ก็ประกาศ “บอยคอต” การเลือกตั้ง จนลุกลาม เกิดการทุจริตการเลือกตั้ง เกิดการรัฐประหาร เกิดการยุบพรรค ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็น “ความขัดแย้ง” ที่ยังคง “ตกค้าง” มาจนถึงปัจจุบัน.          



ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คุณไม่สามารถมองเห็น links ได้ กรุณา.สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ
เป่านกหวีดสู้เหมาเข่ง'วิกฤติ'ระลอกใหม่

LikePost โดย 0 สมาชิก :


 

Sitemap 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 
ร่วมขับเคลื่อนโดย