สนับสนุนเว็บ

ผู้เขียน หัวข้อ: ก้าวสำคัญของการนำสะเต็มศึกษาไปใช้ กับความหวังยกระดับคุณภาพศึกษาไทย  (อ่าน 81 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นๅยด้ามขวาน

  • ออฟไลน์
  • 49115
    30336
    64972



  • Administrator
  • *****
  • สมัครสมาชิกเมื่อ 17/07/2009
    YearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYears
  • กระทู้ : 49115
  • Like Post : 64972
  • Peny : 30336
  • 16

    • ดูรายละเอียด


  • เข้าใช้งานล่าสุดเมื่อ 14/พ.ย./22


              จากปัญหาในปัจจุบันที่จำนวนผู้เรียนสายวิทยา ศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีลดลง ตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา นอกจากนี้การประเมินผลทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ บ่งชี้ว่าการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิต ศาสตร์ และเทคโนโลยีในระดับโรงเรียน มีคุณภาพโดยเฉลี่ยต่ำ    ด้วยเหตุนี้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จึงได้ผลักดันให้เกิด “สะเต็มศึกษา” (STEM Education) ขึ้นในประเทศไทย โดยหวังว่าจะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาของไทยขึ้นมาได้    STEM Education (Science Technology Engineering and Mathematics Education) เป็นแนวทางใหม่ในการจัดการศึกษาแบบบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เข้าด้วยกัน ทั้งในการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา รวมถึงการศึกษาตลอดชีวิต    วันนี้เราลองมาคุยกับ ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ซึ่งมองว่าการเรียนการสอนของไทยไม่บรรลุเป้าหมาย เกิดจากหลายปัจจัยหลายอย่างทั้งครู สื่อการสอน กระบวนการเรียนการสอน การเน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง จะกระตุ้นความสนใจได้มาก จากผลการวัดและประเมิน จะเห็นได้ว่าเด็กไทยไม่ได้ถูกฝึกให้มีความสามารถในการคิดและการอ่านมากนัก การสอบวัดผลส่วนใหญ่จะเป็นคำถามแบบเลือกตอบ เป็นการปิดกั้นทางความคิดของเด็กทำให้เด็กไม่ได้พัฒนาเท่าที่ควร ดังนั้นการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสะเต็มศึกษาต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้ตอบคำถามที่ใช้การอธิบาย หรือคำถามแบบปลายเปิด ครูผู้สอนจะได้รู้ว่าเด็กมีความเข้าใจมากน้อยแค่ไหน ส่วนหนึ่งที่สำคัญคือทักษะของการอ่าน และทักษะคณิต ศาสตร์ที่จะช่วยให้เข้าใจและนำไปปรับใช้กับวิชาอื่น ๆ ได้    ดร.พรพรรณ ย้ำว่า การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา สามารถจัดการเรียนรู้ได้หลายแนวทาง เช่น จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นโครงงาน ประยุกต์ใช้กับวิชาอื่น ๆ เพราะถ้าเด็กมีการใช้กระบวนการคิด เพื่อทำโครงงานซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เมื่อเจอปัญหาในชีวิตจริง ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ ดังนั้นสะเต็มศึกษาจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ สสวท. อยากเน้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เน้นให้เด็กนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน วิชาที่เรียนสามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตอย่างไรบ้าง หรือเขาอยากจะไปในทิศทางของวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์หรือไม่ เพราะวิชาเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการใช้ชีวิตในยุคโลกาภิวัตน์ แต่ทั้งนี้การเรียนรู้แบบนี้ต้องร่วมมือกันหลายฝ่าย ผู้ปกครองต้องให้โอกาสเด็ก ๆ ได้สังเกต ให้คำตอบในเรื่องต่าง ๆ และต้องเชื่อมโยงให้เด็กได้เห็นว่าสัมพันธ์กับสิ่งใดบ้างรอบ ๆ ตัวเด็ก คิดว่ากระบวนการนี้จะสร้างความน่าสนใจ ทำให้เกิดการเรียนรู้กับเด็กไทยทุกคน    “สำหรับการดำเนินงานด้านสะเต็มศึกษาในเบื้องต้น สสวท.จะกระจายกระบวนการเหล่านี้สู่ท้องถิ่น ในรูปแบบของการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ พยายามสร้างเครือข่ายในอนุภูมิภาค เราได้นำวิธีการเหล่านี้มาเสริมศักยภาพเด็ก ด้วยการเรียนรู้จากการทำโครงงานอยู่แล้ว ตอนนี้ก็จะเริ่มใช้กับโรงเรียนในเครือข่ายก่อน หากเรื่องใดมีเนื้อหาที่ลึกก็อาจมีการขอความช่วยเหลือจากอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เขาทำโครงการอยู่แล้ว ซึ่งภาคเอกชน หรือผู้ประกอบการก็สามารถสนับสนุนองค์ความรู้ได้ เพราะสิ่งที่เราไม่สามารถแก้ปัญหาในระบบโรงเรียนได้ก็คือ งบประมาณในการจัดหาสื่ออย่างเพียงพอ” ผอ.สสวท.กล่าว    กับคำถามที่ว่าโรงเรียนที่ สสวท. นำร่องไปแล้วเป็นอย่างไรบ้าง ? ดร.พรพรรณ บอกว่า โรงเรียนที่นำร่องไปแล้วคือโรงเรียนที่มีศูนย์สำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ในเครือข่ายของ สสวท. แต่ตอนนี้กำลังจะเริ่มใช้กับนักเรียนปกติในปีการศึกษาใหม่นี้แทรกในสื่อประกอบการเรียนรู้ ซึ่งคู่มือครูจะมีการจัดทำและจะจัดอบรมเพื่อให้ครูสามารถนำสะเต็มศึกษาไปใช้จัดการเรียนการสอนในโรงเรียนได้ ในที่สุดคุณครูและนักเรียนก็จะสามารถเลือกทำโครงงานได้ โดยจะเริ่มกระจายไปสู่โรงเรียนต่าง ๆ โดยโรงเรียนที่เข้ามามีส่วนร่วมต้องมีความตั้งใจ ที่จะปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอน ซึ่งในขั้นแรกก็จะมีโรงเรียนนำร่องที่เป็นศูนย์สะเต็ม 12 จังหวัด จังหวัดละ 6 โรงเรียน รวมระดับภูมิภาคที่เป็นศูนย์ก็จะเป็น 84 โรงเรียนด้วยกัน ซึ่งปีการศึกษา 2557 ก็จะเริ่มสิ่งเหล่านี้ รวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนสนุกกับสิ่งเหล่านี้อย่างต่อเนื่องและสนใจ นอกจากนี้เรื่องสื่อการศึกษาก็สำคัญ เป็นส่วนที่จะทำให้นักเรียนเข้าถึงเนื้อหาต่าง ๆ ได้”    หากผล  PISA ยังอยู่ในระดับต่ำ แล้วสะเต็มศึกษาจะมีส่วนช่วยอย่างไร ? ดร.พรพรรณ เห็นว่า ส่วนหนึ่งคือการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางของ สสวท. รวมทั้งสะเต็มศึกษา จะกระตุ้นการเรียนการสอนให้เด็กสนใจ ดังนั้นในการตอบโจทย์ต้องมีการทำอย่างเป็นขั้นตอน และต่อเนื่องระยะยาว เพราะปัญหาของ PISA คือการอ่าน ซึ่ง สพฐ. มีนโยบายที่จะผลักดันในเรื่องของการอ่าน การเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ สามารถเน้นการอ่านได้อยู่แล้ว ฉะนั้นเรื่องการอ่านจะเข้ามาแทรกในวิชาต่าง ๆ นอกจากนี้การวัดและการประเมินจะเน้นการคิดวิเคราะห์ให้ครูได้ใช้เป็นตัวอย่าง จึงอยากยกเลิกกระบวนการที่เน้นความจำ เปลี่ยนเป็นเน้นให้นักเรียนได้อธิบายเพิ่มขึ้น เป็นเรื่องที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปพร้อม ๆ กัน และไม่ใช่แค่วิชาเดียว แต่ต้องทำทุกวิชา    สำหรับโรงเรียนที่ลงมือปฏิบัติไปแล้วเป็นอย่างไรบ้าง ? ผอ.สสวท.ยอมรับว่า ตอนนี้ยังไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน แต่เรามองจากการเรียนรู้ เช่น นักเรียนในโครงการ GLOBE จะมีทักษะในการสังเกต การวัด การรวบรวมข้อมูล การตอบโจทย์อย่างเป็นขั้นตอน เราไม่อยากให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นแค่เพียงเด็กที่มีความสามารถพิเศษเท่านั้น อยากให้เกิดกับนักเรียนทั่วไปด้วย    ผอ.สสวท.ย้ำอีกว่า เป้าหมายสำคัญคือการทำให้นักเรียนสามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ และมองเห็นการเชื่อมโยงอาชีพในอนาคตข้างหน้า ซึ่งต้องอาศัยเวลาหลายปี นักเรียนจะได้ฝึกฝน สะสมความรู้ความคิด คนรุ่นใหม่มีความรู้และทักษะในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ สามารถประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีคุณภาพชีวิตที่ดีในยุคประชาคมอาเซียน พร้อมทั้งมีเป้าหมายที่จะยกระดับคุณภาพและเพิ่มจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี เร่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประชากรไทยให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก    สำหรับการเปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมสะเต็มศึกษา สสวท.จะรับสมัครโรงเรียน และรับสมัครบุคคลหรือหน่วยงานในท้องถิ่นที่ทำอาชีพเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ที่สนใจอยากเข้าร่วม เช่น สมาคมผู้ปกครองที่มีอาชีพหลากหลายก็สามารถเป็นอาสาสมัครได้ ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน เป็นการเชื่อมโยงการเรียนรู้ ที่บ้าน ที่โรงเรียน ด้วยตัวของนักเรียน และตอนนี้สื่อต่าง ๆ ก็สามารถเข้าถึงได้ง่าย เด็กโตอาจเข้าไปศึกษาได้เอง แต่เด็กเล็กผู้ปกครองอาจต้องช่วยชี้แนะด้วย    “สะเต็มศึกษา เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว ครูจำนวนมาก ที่ได้จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการนำเอาสาระเนื้อหาวิชาต่าง ๆ มาให้นักเรียนได้เรียนรู้ไปพร้อมกัน การนำสะเต็มศึกษามาใช้ จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ที่ครูจะต้องทิ้งของเดิมทั้งหมด เพียงแต่รู้จักบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยต่อจากนี้ไป สังคมไทย และแวดวงการศึกษาของไทยก็จะเห็นการส่งเสริมผลักดันด้านสะเต็มศึกษาจาก สสวท. อย่างเป็นรูปธรรม และนำไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจนขึ้น” ดร.พรพรรณ กล่าวทิ้งท้าย.  สินีนาฎ ทาบึงกาฬ            



ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คุณไม่สามารถมองเห็น links ได้ กรุณา.สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ
ก้าวสำคัญของการนำสะเต็มศึกษาไปใช้ กับความหวังยกระดับคุณภาพศึกษาไทย

LikePost โดย 0 สมาชิก :


 

Sitemap 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 
ร่วมขับเคลื่อนโดย