สนับสนุนเว็บ

ผู้เขียน หัวข้อ: เล็งเพิ่มเงินพิเศษครูสาขาขาดแคลน  (อ่าน 63 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Permalink: เล็งเพิ่มเงินพิเศษครูสาขาขาดแคลน

19/พ.ย./13 หัวข้อไอดี: 16032219 | ลิ้งค์หัวข้อ: /topic/16032219

ออฟไลน์ นๅยด้ามขวาน

  • ออฟไลน์
  • 49115
    30336
    64972



  • Administrator
  • *****
  • สมัครสมาชิกเมื่อ 17/07/2009
    YearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYears
  • กระทู้ : 49115
  • Like Post : 64972
  • Peny : 30336
  • 16

    • ดูรายละเอียด


  • เข้าใช้งานล่าสุดเมื่อ 14/พ.ย./22


              นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) เปิดเผยความคืบหน้าการยกระดับและพัฒนาวิชาชีพครูตามนโยบายของนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ ว่า สำนักงานก.ค.ศ.จะเสนอให้ที่ประชุมที่มีนางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดศธ.เป็นประธานพิจารณาในเรื่องของการตีค่าคุณวุฒิของผู้ที่จะบรรจุเป็นครูผู้ช่วยในสาขาวิชาขาดแคลน อาทิ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เป็นต้น เพื่อให้ได้คนดีคนเก่งเข้ามาเป็นครู ซึ่งเบื้องต้นแนวคิดนี้จะให้เงินเพิ่มพิเศษหรือค่าตอบแทนพิเศษแก่ผู้ที่บรรจุในสาขาที่ขาดแคลนเพิ่มจากเงินเดือนปกติที่ได้รับ 15,000 บาท และหากได้รับความเห็นชอบจะต้องออกเป็นกฎก.ค.ศ.ต่อไป นอกจากนี้จะให้มีการกำหนดมาตรฐานตำแหน่งข้าราชการครูใหม่ โดยแยกเป็นสายประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา เพื่อให้ตรงสายงานความก้าวหน้า เพราะในปัจจุบันยังใช้มาตรฐานตำแหน่งรวม ในขณะที่ปัจจุบันมีโรงเรียนขนาดเล็กมากขึ้นและเกี่ยวพันกับเรื่องการโยกย้าย ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีมาตรฐานตำแหน่งที่แยกออกไปแต่ละสายด้วย  เลขาธิการก.ค.ศ. กล่าวต่อไปว่า ส่วนการประเมินวิทยฐานะที่ก.ค.ศ.กำลังปรับปรุงหลักเกณฑ์วิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ว17/2552 ในสายผู้สอน สายผู้บริหารการศึกษา สายผู้บริหารสถานศึกษา และสายศึกษานิเทศก์ ซึ่งจะให้น้ำหนักของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนมากขึ้นกว่าเดิมนั้น จะมีการเสนอให้ใช้เกณฑ์การประเมินวิทยฐานะเพิ่มอีกทางเลือกหนึ่งคือเป็นการประเมินวิทยฐานะเชิงอนาคตที่จะนำมาใช้กับทุกวิทยฐานะ โดยจะเป็นลักษณะการประเมินที่จะต้องมีการทำข้อตกลงกับเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและครูที่จะเข้ารับการประเมิน โดยจะต้องทำข้อตกลงกับผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งจะมีการประเมินเป็นระยะอาจจะใช้เวลาประมาณ2ปีจึงจะผ่านเกณฑ์การประเมิน  " การประเมินวิทยฐานะเชิงอนาคตจะเป็นผลดีกับการจัดการเรียนการสอน เพราะครูจะไม่ทิ้งห้องเรียนและครูจะต้องมีการพัฒนาตนเองโดยจะต้องมีการทำข้อตกลงด้วยว่าในระหว่างการประเมินครูจะต้องไม่ย้ายไปโรงเรียนอื่น อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้หากได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมก.ค.ศ. ทางสำนักงานก.ค.ศ.ก็พร้อมจะเดินหน้าต่อไปเพื่อยกระดับและพัฒนาวิชาชีพครู" เลขาธิการก.ค.ศ.กล่าว            



ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คุณไม่สามารถมองเห็น links ได้ กรุณา.สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ
เล็งเพิ่มเงินพิเศษครูสาขาขาดแคลน

LikePost โดย 0 สมาชิก :


 

Sitemap 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 
ร่วมขับเคลื่อนโดย