สนับสนุนเว็บ

ผู้เขียน หัวข้อ: ออกหมายจับม็อบกระทืบตร.ไม่อยู่ในอำนาจศาลอาญา  (อ่าน 80 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Permalink: ออกหมายจับม็อบกระทืบตร.ไม่อยู่ในอำนาจศาลอาญา

20/พ.ย./13 หัวข้อไอดี: 16032376 | ลิ้งค์หัวข้อ: /topic/16032376

ออฟไลน์ นๅยด้ามขวาน

  • ออฟไลน์
  • 49115
    30336
    64972



  • Administrator
  • *****
  • สมัครสมาชิกเมื่อ 17/07/2009
    YearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYears
  • กระทู้ : 49115
  • Like Post : 64972
  • Peny : 30336
  • 16

    • ดูรายละเอียด


  • เข้าใช้งานล่าสุดเมื่อ 14/พ.ย./22


              เมื่อวันที่ 20 พ.ย.ที่ห้องประชุมศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เมื่อเวลา 10.00 น.นายธงชัย เสนามนตรี อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา แถลงชี้แจงกรณีมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ศาลไม่ออกหมายจับผู้ชุมนุมที่ทำร้ายร่างกาย ด.ต.จำเนียร หงส์ไทย ผบ.หมู่ กก.สส.บก.น.6 เหตุเกิดที่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ได้รับบาดเจ็บ เมื่อวันที่ 7 พ.ย.ที่ผ่านมาว่า การดำเนินการขอหมายจับคดีทำร้ายร่างกายผู้อื่นให้บาดเจ็บจนเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 หรือ 296 นั้นมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี พนักงานสอบสวนจะต้องไปยื่นขอหมายจับกับศาลแขวงดุสิตซึ่งเป็นศาลในท้องที่ที่เกิดเหตุ ศาลอาญาไม่มีอำนาจพิจารณาคำร้อง เพราะศาลอาญาจะพิจารณาคดีที่มีโทษหนักขึ้นคือ มีอัตราโทษสูงกว่า 3 ปีขึ้นไป หรือทำร้ายร่างกายจนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต   นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงของเรื่องนี้พนักงานสอบสวนก็ไม่เคยยื่นคำร้องขอหมายจับผู้ซึ่งกระทำความผิดที่ทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ตำรวจคนดังกล่าวกับศาลอาญา ศาลอาญาจึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ดังนั้น การพูดวิพากษ์วิจารณ์ว่าศาลอาญาไม่ออกหมายจับจึงเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริง อย่างไรก็ตาม ทราบว่าขณะนี้พนักงานสอบสวนได้ไปยื่นขอหมายจับกับศาลแขวงดุสิตแล้ว ส่วนผลจะเป็นอย่างไรก็ต้องติดตามข่าวกันเอง และฝากไปถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยว่าการดำเนินการขอหมายจับหรือหมายค้น จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยต้องมีรายละเอียดพฤติการณ์ผู้ต้องหาให้ศาลสั่งว่าจะพิจารณาออกหมายจับหรือหมายค้นตามกฎหมายได้หรือไม่ ไม่ใช่มีกระดาษคำร้องเพียงแผ่นเดียวแล้วให้ศาลออกหมายจับ หมายค้น สิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญ   อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ยังกล่าวถึงกรณีนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ จำเลยในคดีบุกรุกสนามบินและทำเนียบ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญาโดยระบุว่าต้องการปราศรัยให้ความรู้ประชาชนบนเวทีการชุมนุมก่อนที่ศาลโลกจะพิจารณาพิพากษาคดี และขอให้ศาลอย่าอนุญาตเพิกถอนประกันตัวหากพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอว่า ข้อเท็จจริงเรื่องนี้ชัดเจนว่า นายไชยวัฒน์เพียงแต่มายื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลทราบว่าจะขึ้นปราศรัยเท่านั้นเอง ซึ่งสามารถทำได้เพราะการขึ้นปราศรัยบนเวทีการชุมนุมถือเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และศาลไม่ได้ห้าม นอกจากนี้ ที่ผ่านมาก็มีทั้งแกนนำทั้งเสื้อเหลือง เสื้อแดงที่เป็นจำเลยมาขอขึ้นเวทีการปราศรัย โดยศาลก็ได้กำหนดเงื่อนไขเป็นมาตรฐานเดียวกัน คือห้ามกระทำการยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง หรืออาจก่อให้เกิดภยันตรายใดๆ ที่ทำให้เกิดความเสียหายหรือความสงบเรียบร้อยต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกระทำการใดๆ ให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมาย และห้ามเดินทางออกนอกประเทศ ดังนั้น ศาลอาญาจะยึดถือปฏิบัติตามเงื่อนของศาลอย่างเคร่งครัด บังคับใช้อย่างเฉียบขาด ไม่มีละเว้นให้แก้ใคร ส่วนที่นายไชยวัฒน์กล่าวว่าศาลอนุญาตให้ขึ้นเวทีการปราศรัยได้นั้นจึงไม่ถูกต้อง และคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง ซึ่งศาลจะได้ดำเนินการต่อไป โดยอาจเรียกมาสอบถามว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎเป็นข่าวนั้นเป็นอย่างไร  อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก จำเลยที่ 7 ในคดีก่อการร้าย ยื่นคำร้องต่อศาลให้เพิกถอนคำสั่งที่ห้ามขึ้นเวที เนื่องจากศาลอนุญาตให้นายไชยวัฒน์ขึ้นเวทีปราศรัยได้นั้น ขอเรียนว่าข้อเท็จจริงในเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราวของนายยศวริศแตกต่างกับนายไชยวัฒน์โดยสิ้นเชิง เนื่องจากในคำร้องขอให้ศาลปล่อยชั่วคราวนายยศวริศได้ระบุชัดเจนว่า ขอสละสิทธิ์การขึ้นเวทีปราศรัยหรือดำเนินการใดๆ ที่จะก่อความวุ่นวาย ซึ่งเป็นการขอสละสิทธิ์ด้วยตัวเอง และเป็นเงื่อนไขสำคัญของการให้ปล่อยชั่วคราวครั้งนี้ เพราะฉะนั้นศาลจึงไม่อนุญาตให้นายยศวริศขึ้นเวทีปราศรัยตามที่ยื่นคำร้องมา จึงไม่ใช้กรณีที่ศาลอาญาดำเนินการโดยใช้สองมาตรฐาน เพราะตนได้กล่าวแล้วว่าศาลอาญาจะไม่มีสองมาตรฐาน   นายธงชัย กล่าวอีกว่า เรื่องต่อมาปรากฏข่าวทางสื่อมวลชนทำนองว่า รมว.ยุติธรรม อ้างศาลไม่ให้ประกันตัวเสื้อแดง กรณีที่นางพะเยาว์ ฮักฮาด มารดาผู้เสียชีวิต ได้ขอให้กรมคุ้มครองสิทธิฯ มายื่นขอประกันตัวเสื้อแดงแล้วจำนวน 3 ครั้ง แต่ศาลไม่อนุญาตให้ประกัน โดยไม่บอกรายละเอียดชัดเจนนั้น ขอชี้แจงในฐานะอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาว่า การให้ประกันหรือไม่ให้ประกันนั้น เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเป็นดุลยพินิจของผู้พิพากษา โดยพิจารณาถึงเหตุผลต่างๆ นานา กรณีที่ศาลไม่ให้ประกันตัวจะเขียนเหตุผลไว้ชัดเจนว่าเหตุผลใดศาลจึงไม่ให้ประกันตัว เมื่อคู่ความไม่พอใจสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ หากศาลอุทธรณ์ไม่ให้ประกันก็จะระบุเหตุผลไว้อย่างชัดเจนเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ คำสั่งของศาลอาญาและอุทธรณ์จะระบุเหตุผลหลักไว้ เมื่อระบุเหตุผลหลักไว้อย่างชัดเจนแล้ว เหตุผลปลีกย่อยต่างๆ ก็ไม่จำเป็นต้องนำมาเขียนแจกแจงทั้งหมด ดังนั้น เรื่องนี้จึงเป็นการเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ฟังใครมาหรือเข้าใจผิดก็ให้ไปสอบถาม รมว.ยุติธรรมเอง            



ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คุณไม่สามารถมองเห็น links ได้ กรุณา.สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ
ออกหมายจับม็อบกระทืบตร.ไม่อยู่ในอำนาจศาลอาญา

LikePost โดย 0 สมาชิก :


 

Sitemap 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 
ร่วมขับเคลื่อนโดย