สนับสนุนเว็บ

ผู้เขียน หัวข้อ: เป่านกหวีด-ซักฟอกแค่จบตอนมิใช่ตอนจบถอดถอน312ส.ส.-ส.ว.ส่อ‘สุดซอย’ของจริง  (อ่าน 62 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นๅยด้ามขวาน

  • ออฟไลน์
  • 49115
    30336
    64972



  • Administrator
  • *****
  • สมัครสมาชิกเมื่อ 17/07/2009
    YearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYears
  • กระทู้ : 49115
  • Like Post : 64972
  • Peny : 30336
  • 16

    • ดูรายละเอียด


  • เข้าใช้งานล่าสุดเมื่อ 14/พ.ย./22


             มีการคาดการณ์กันไว้ก่อนหน้านี้ว่า การ “ทำคลอด” ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับเหมาเข่ง-สุดซอยของเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรที่มี ส.ส.พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำนั้นเป็นการ “ทำพลาด” ครั้งใหญ่ จนถึงขั้นคาดเดากันว่า งานนี้จะเข้าตำรา “พลาดตาเดียวมีสิทธิล้มทั้งกระดาน” หรือไม่     การทำคลอดร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมได้ถูกต่อต้านจากพรรคประชาธิปัตย์ เกิดปรากฏการณ์ “เป่านกหวีด” จนนำมาซึ่งการชุมนุมต่อต้านครั้งมโหฬารที่ ถนนราชดำเนิน แม้รัฐบาลจะยืมมือ “เสียงข้างมาก” ของวุฒิสภา “ทำแท้ง” ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่สถานการณ์การชุมนุมก็ถูก “ยกระดับ” กลายเป็นการต่อต้านระบอบทักษิณซึ่งมีรัฐบาลพรรคเพื่อไทยภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เป็นส่วนหนึ่งในนั้นไปเป็นที่เรียบร้อย    การต่อต้านรัฐบาลเกิดขึ้น ดำรงอยู่และเดินมาจนบรรจบกับการ “วินิจฉัย” การแก้ไขรัฐธรรมนูญ “ที่มาของวุฒิสภา” ซึ่งเป็น “ปมร้อน” ที่เกิดขึ้นก่อนการทำคลอดร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่สุดแล้ว ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมี “มติ” ว่า การแก้ไขดังกล่าว “ไม่ชอบ” ด้วยรัฐธรรมนูญหลายมาตรา แต่ไม่ถึงขั้น “ยุบพรรค-ตัดสิทธิ” กรรมการบริหารพรรคการ เมืองที่เสนอแก้ไข    ผลของคำ “วินิจฉัย” ดังกล่าวมีความชัดเจนระดับหนึ่งว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราที่ไม่เป็นไปตามกระบวนการที่ “ไม่ชอบ” นั้นไม่สามารถทำได้ กรณีนี้อาจจะนำไป “เทียบเคียง” ได้กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีก 2 ร่าง คือ ร่างแก้ไขมาตรา 190 ที่ผ่านที่ประชุมร่วมรัฐสภาในช่วงเวลาเดียวกันกับที่ศาลโลกมีคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ที่น่าจะ “ไม่ชอบ” ไปด้วยเพราะมี “ปม” ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไว้ในเรื่องการกำหนด “วันแปรญัตติ” ที่ขัดต่อข้อบังคับการประชุมและขัดต่อกฎหมาย    แม้จะไม่มีการ “ยุบพรรค-ตัดสิทธิ” แต่ผลที่ตามมาคือ การ “ถอดถอน” ที่ฝ่ายผู้ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรม นูญได้ไปยื่นเรื่องไว้กับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือ ป.ป.ช. จำนวน 5 คำร้องที่มีทั้งให้ “ถอดถอน” และให้ “ดำเนินคดีอาญา” ซึ่งในวันที่ 26 พ.ย.นี้ อนุกรรมการ ป.ป.ช. จะเริ่มดำเนินการตามขั้นตอน    ในจำนวน 312 คนนี้มีประมุขฝ่ายนิติบัญญัติอย่าง สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภากับ นิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภาในฐานะรองประธานรัฐสภารวมอยู่ด้วย    มีกระบวนการและขั้นตอนอีกซักพักกว่าจะมีความชัดเจนว่า จะมีใครบ้างถูก “ชี้มูล” จนต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่และเข้าสู่การ “ถอดถอน” ของวุฒิสภาหรือใครบ้างจะถูกส่งเรื่องไปดำเนินคดีอาญาที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง    ผลของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ได้ทำให้การเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายต่อต้านรัฐบาลกับฝ่ายสนับสนุนและรัฐบาล “ตึงเครียด” ขึ้นกว่าที่ผ่านมา แม้การชุมนุมของ “คนเสื้อแดง” จะเลิกราไปแต่เป็นการไปแบบ “ชั่วคราว” และพร้อมที่จะกลับมาแสดงพลังสนับสนุนรัฐบาลได้ทุกเมื่อ     ขณะที่การชุมนุมที่ ถนนราชดำเนิน ซึ่งอดีตแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ อย่าง สุเทพ เทือกสุบรรณ ประกาศ “เป่านกหวีด” ครั้งใหญ่ในวันที่ 24 พ.ย.นี้ จะเป็นอีก “ก้าวสำคัญ” เพราะหากมีจำนวนผู้ชุมนุมมากหรือประมาณ 1 ล้านคนอย่างที่ตั้งเป้าไว้ ก็น่าจะสามารถ “เขย่า” ความน่าเชื่อถือของรัฐบาลที่ยืนยันว่าตัวเองมาตามกระบวนการประชาธิปไตยได้มากโขทีเดียว    ใช่แต่ “เวทีประชาชน” เท่านั้น พรรคประชาธิปัตย์ ยังยื่นญัตติ “ซักฟอก” รัฐบาลโดยมีเป้าประสงค์เพื่อหวังจะชี้ให้สังคมได้เห็นถึง “ประสิทธิภาพ” ของรัฐบาลที่เป็น “นอมินี” ของระบอบทักษิณผ่านโครงการสำคัญอย่างโครงการรับจำนำข้าว และการใช้งบประมาณจัดการน้ำผ่าน พ.ร.ก.เงินกู้ 3.5 แสนล้าน    สำหรับโครงการ “รับจำนำข้าว” วันนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักทั้งในและต่างประเทศว่าเป็นโครงการที่สร้าง “ภาระ” ด้านงบประมาณอย่างมหาศาลและถูกมองว่าเปิดช่องให้เกิด “การทุจริต” อย่างมากมาย ขณะที่โครงการเงินกู้ 3.5 แสนล้าน นับวันจะได้รับการ “ต่อต้านคัดค้าน” อย่างหนักมากขึ้นเรื่อย ๆ จากประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ    เป็นเรื่อง “ยากมาก” ที่ฝ่ายค้านอย่างประชาธิปัตย์ จะ “ชนะ” ในสภาเพราะเสียงสนับสนุนของรัฐบาลแน่นหนาเหลือเกิน แต่ที่ประชาธิปัตย์ต้องทำหน้าที่ เพราะนี่คือการให้ “ความจริง” อีกด้านที่ไม่ได้ถูกเปิดเผยออกมาเพราะถูกปิดกั้นจากสื่อของรัฐ และพรรคประชาธิปัตย์ก็หวังจะใช้เวทีตามระบอบประชาธิปไตยนี้ “เปลี่ยนความคิด” ที่เชื่อว่า “ระบอบทักษิณ” จะมาแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างที่คนส่วนใหญ่เชื่อกัน    ตลอดระยะเวลาเกือบจะ 1 เดือนที่ผ่านมา จะพบว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทยไม่ได้ “ถอยกรูด” อย่างที่เห็นกันแต่เป็นการถอยเพื่อรอ “วันรุกกลับ” เท่านั้น การระดมมวลชนคนเสื้อแดงเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลก็เป็น “ยุทธวิธี” หนึ่ง รวมไปถึงการประกาศไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ตลอดจนการขู่จะยื่น “ถอดถอน” 5 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เหล่านี้ล้วนสะท้อนว่า รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ยังไม่มีความคิดที่จะ “ยุบสภา-ลาออก” อย่างข่าวที่ลือกันออกมา ทั้ง ๆ ที่พูดมาตลอดว่า เลือกตั้งเมื่อไหร่ก็ได้ชัยชนะทางการเมืองเมื่อนั้นก็ตามที     เมื่อร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม “ตกไป” การแก้ไขรัฐธรรมนูญ “หัวคะมำ” จึงต้องจับตาดูว่า การออก พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ที่ผ่านวุฒิสภาไปแล้วและถูกยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยจะกลายเป็น “ฝันค้าง” หรือไม่    หากทั้งหมดซึ่งก็คือ แก้ว 3 ประการ ในทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย “เดินหน้า” ต่อไปไม่ได้ การอยู่เป็นรัฐบาลของพรรคเพื่อไทยก็ไม่น่าที่จะมีความหมายอีกต่อไป      แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้นนี้    สถานการณ์ทางการเมืองช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา จึงน่าจะบอกได้ว่า “เสียงข้างมาก” ของฝ่ายนิติบัญญัติ ขาดซึ่งความชอบธรรมและความน่าเชื่อถือจากสังคมอย่างสิ้นเชิง เหลือก็แต่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่กำลังถูกตั้งคำถามถึงประสิทธิในการทำงาน ถึงประสิทธิภาพในการ “ป้องกัน” และ “ปราบปราบ” การทุจริต    อย่าลืมว่ารัฐบาลเสียงข้างมากขนาดไหน ก็ไปได้ในพริบตาหากถูกจับได้ไล่ทันว่า ทุจริตคอร์รัปชั่น    เหลือเพียง 1 สัปดาห์จะสิ้นเดือน เป็นสิ้นเดือนที่จะมีการปิดสมัยประชุมสภา เป็นสิ้นเดือนของการมีญัตติ “ซัก ฟอก” ซึ่งน่าจะเป็น “จุดเปลี่ยน” ทางการเมืองที่สำคัญ    “ไม้เด็ด” ของฝ่ายค้านจึงอยู่ตรงนี้ ส่วนจะเข้า “ปลายคาง” จนถึงขั้น “น็อก” รัฐบาลได้หรือไม่     ระหว่างวันที่ 26-27 พ.ย. นี้ ห้ามกะพริบตา!!!!!!!.          



ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คุณไม่สามารถมองเห็น links ได้ กรุณา.สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ
เป่านกหวีด-ซักฟอกแค่จบตอนมิใช่ตอนจบถอดถอน312ส.ส.-ส.ว.ส่อ‘สุดซอย’ของจริง

LikePost โดย 0 สมาชิก :


 

Sitemap 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 
ร่วมขับเคลื่อนโดย