สนับสนุนเว็บ

ผู้เขียน หัวข้อ: การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการบริหารจัดการนํ้า - ทิศทางเกษตร  (อ่าน 63 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นๅยด้ามขวาน

  • ออฟไลน์
  • 49115
    30336
    64972



  • Administrator
  • *****
  • สมัครสมาชิกเมื่อ 17/07/2009
    YearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYears
  • กระทู้ : 49115
  • Like Post : 64972
  • Peny : 30336
  • 16

    • ดูรายละเอียด


  • เข้าใช้งานล่าสุดเมื่อ 14/พ.ย./22


              ดร.สมเกียรติ  ประจำวงษ์  ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทานเปิดเผยว่า โครงการพัฒนาที่มีผลกระทบต่อชุมชน และสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน จะกล่าวถึง EIA (Environmental Impact Assessment) ซึ่งหมายถึง การใช้หลักวิชาการในการทำนาย หรือคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการใน 4 ด้าน อันได้แก่ 1. ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น อากาศ น้ำ ดิน 2. ทรัพยากรทางชีวภาพ เช่น สัตว์ พืช หรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ 3. คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เช่น ถนน ไฟฟ้า น้ำดื่ม/น้ำใช้ และ 4. คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต ในประเด็นเศรษฐกิจ สังคม หรือสาธารณสุข เป็นต้น เพื่อจะได้หาทางป้องกันผลกระทบในทางลบที่อาจเกิดขึ้นให้เกิดน้อยที่สุด ในขณะเดียวกัน ก็มีการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติได้อย่างมีประโยชน์ มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าที่สุด  ส่วนคำว่า EHIA (Environment and Health Impact Assessment) หมายถึง การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ  EHIA จึงแตกต่างจาก EIA ตรงที่ กระบวนการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการ โดยได้ขยายมิติทางสุขภาพออกไปให้กว้างขึ้นจากที่มีอยู่เดิมใน EIA และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยกำหนดสุขภาพกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม ระบบบริการสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ นับเป็นกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ครบทุกมิติ รวมทั้ง EHIA ยังเป็นกระบวนการที่ดีที่ได้กำหนดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมและรับฟังข้อห่วงกังวลต่าง ๆ จากประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียไว้อย่างชัดเจน  ทั้งนี้เนื่องจากมาตรา 67 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้โครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ต้องศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน   EHIA จึงเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เพื่อให้ผู้บริหารได้มีข้อมูลต่าง ๆ เป็นแนวทางตัดสินใจว่า สมควรพัฒนาโครงการ นั้น ๆ หรือไม่อย่างไร สำหรับโครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำของกรมชลประทานโดยเฉพาะเรื่องการก่อสร้างเขื่อนนั้น ดร.สมเกียรติ  ประจำวงษ์  เปิดเผยว่ากระบวนการทำ EHIA ต้องดำเนินการศึกษาโดยนิติบุคคลที่มีผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการอนุญาตจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเท่านั้นและมีคณะผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องร่วมกันศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล กรมชลประทานไม่สามารถดำเนินการจัดทำรายงานได้เอง ซึ่งขั้นตอนและวิธีการศึกษา ก็จะเป็นไปตามหลักวิชาการ ครบถ้วน รอบด้าน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ สังคม พร้อมเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม รับฟังความคิดเห็นต่าง ๆ  จากนั้นจึงนำข้อมูลจริงในพื้นที่ทั้งหมดที่ได้มาใช้ในการคำนวณและวิเคราะห์ตามหลักวิชาการ   “หากไม่ได้มีการอนุมัติ โครงการนั้น ๆ ก็จะต้องยุติไป ซึ่งกรมชลประทานก็พร้อมยอมรับ เนื่องจากกรมชลประทานไม่ได้มุ่งจะสร้างเขื่อนแต่อย่างใด แต่มุ่งที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนที่เดือดร้อนแสนสาหัสจากน้ำท่วม น้ำแล้งซ้ำซากทุกปีเท่านั้น”  ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชล ประทานกล่าว.            



ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คุณไม่สามารถมองเห็น links ได้ กรุณา.สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ
การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการบริหารจัดการนํ้า - ทิศทางเกษตร

LikePost โดย 0 สมาชิก :


 

Sitemap 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 
ร่วมขับเคลื่อนโดย