สนับสนุนเว็บ

ผู้เขียน หัวข้อ: ข่าวเด่น ทวีปตะวันออกกลาง 2013  (อ่าน 98 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Permalink: ข่าวเด่น ทวีปตะวันออกกลาง 2013

29/ธ.ค./13 หัวข้อไอดี: 16045533 | ลิ้งค์หัวข้อ: /topic/16045533

ออฟไลน์ นๅยด้ามขวาน

  • ออฟไลน์
  • 49115
    30336
    64972



  • Administrator
  • *****
  • สมัครสมาชิกเมื่อ 17/07/2009
    YearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYears
  • กระทู้ : 49115
  • Like Post : 64972
  • Peny : 30336
  • 16

    • ดูรายละเอียด


  • เข้าใช้งานล่าสุดเมื่อ 14/พ.ย./22





          

            

"อาวุธเคมีทำลายล้างในซีเรีย"

21 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ประชาชนชาวซีเรีย 3,600 คน เสียชีวิตหลังถูกอาวุธเคมีโจมตีกลางกรุงดามัสกัส ซึ่งมีผู้ได้รับบาดเจ็บ, พิการอีกหลายพันคน และประชาชนจำนวนมากต้องอพยพออกนอกประเทศ โดยกลุ่มต่อต้านรัฐบาลซีเรีย โจมตีว่ารัฐบาลที่นำโดย นายบาชาร์ อัล อัสซาด อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าว ภาพการทำลายล้างโดยอาวุธเคมีในซีเรียถูกส่งไปยังทั่วโลก ทำให้นานาประเทศและองค์กรสำคัญระดับโลก ต่างลุกฮือโจมตีและคว่ำบาตรรัฐบาลซีเรีย โดยเชื่อว่ารัฐบาลซีเรียใช้อาวุธเคมีกับประชาชน



ขณะที่ภายในประเทศซีเรียเอง จะต้องพบกับความระส่ำจากภายนอกประเทศด้วย เนื่องจากเหล่าประเทศมหาอำนาจ ออกมาลุกฮือประกาศจะทำสงครามกับซีเรียด้วยเช่นกัน เริ่มต้นที่สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2556 นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศว่าจะส่งกองกำลังเข้าไปในซีเรีย แม้เรื่องนี้ในสหรัฐฯ เองจะแตกเป็นสองเสียง แต่เหล่าประเทศพันธมิตร ต่างออกมาตบเท้าสนับสนุนอเมริกาเต็มที่ ท่ามกลางความหวั่นใจว่าจะซ้ำรอยสงครามสหรัฐฯ - อิรักอีกครั้ง

ท่าทีดังกล่าวของอเมริกา ทำให้นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียกลายเป็นฮีโร่จากเหตุการณ์นี้ โดยประกาศต่อหน้านานาประเทศว่า ไม่เห็นด้วยกับอเมริกา และอาสาเป็นตัวแทนเข้าไปเจรจากับซีเรียให้ทำลายอาวุธเคมีให้สิ้นซาก จนรัฐบาลซีเรียท่าทีอ่อนลง เปิดประเทศให้องค์กรต่อต้านอาวุธเคมี หรือ โอพีซีดับบลิว ภายใต้สังกัดของสหประชาชาติ เข้าไปทำลายอาวุธเคมีในประเทศ เหตุการณ์นี้เองทำให้ โอพีซีดับบลิว คว้ารางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2013 ไปครอง แม้หลายฝ่ายจะตั้งข้อกังหาผลงานของรัสเซีย ว่าจริงๆ แล้วรัสเซียกำลังปกปิดเรื่องการแลกเปลี่ยนอาวุธกับซีเรียหรือไม่ แต่การที่ไม่มีเหตุนองเลือด หลายฝ่ายจึงมองผ่านเรื่องนี้ไป

 

จนเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม องค์กรต่อต้านอาวุธเคมี หรือโอพีซีดับบลิว ประกาศว่า ตัดวงจรการผลิตอาวุธเคมีในซีเรียหมดสิ้นแล้ว โดยมีการทำลายอุปกรณ์และวัสดุ ที่อยู่ที่ซีเรียทั้งหมด 11 แห่ง ซึ่งภารกิจต่อไป คือทำลายสารเคมีต้องห้ามที่พบ ซึ่งต้องไปทำลายนอกประเทศซีเรียด้วยเหตุผลของความปลอดภัยภายใน 30 มิถุนายน 2557 ซึ่งในตอนนี้ก็ยังไม่แน่ชัดว่าประเทศไหนจะรับสารเคมีเหล่านี้ไปทำลาย
 
“ครบรอบ 10 ปี สงครามอิรัก"

ปี พ.ศ. 2556 สำหรับประเทศอิรักแล้ว คือการครบรอบปีที่ 10 ที่กองทัพของสหรัฐอเมริกา เข้าไปกวาดล้างอาวุธร้ายแรงที่ประชาคมโลกเชื่อว่าอดีตผู้นำนามว่า ซัดดัม ฮุสเซน ลักลอบผลิตและเตรียมก่อสงครามขนาดใหญ่ รวมถึงการปลดแอกอิรัก จากการปกครองแบบเผด็จการ โดย ซัดดัม ฮุสเซนที่ทำให้อิรักอยู่ในสภาพทรุดโทรมจากสงครามภายในประเทศ และสงครามระหว่างประเทศ แม้กองกำลังทหารสหรัฐฯ ชุดสุดท้ายจะออกจากอิรักไปตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว แต่เหตุการณ์ความไม่สงบในอิรัก ยังคงมีให้เห็นอยู่ต่อเนื่อง จากความขัดแย้งทางศาสนา เรียกได้ว่ามีผู้เสียชีวิตแบบรายเดือนจากกลุ่มก่อความไม่สงบเลยก็ว่าได้



วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2556 สำนักข่าวต่างประเทศชั้นนำของโลกหลายสำนัก ได้ออกบทความย้อนรอย 10 ปีที่ผ่านมาของการบุกครองอิรัก ที่นำทีมโดยทหารสหรัฐฯ 148,000 นาย และทหารจากประเทศ อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ ออสเตรเลีย โปแลนด์ เป็นต้น โดยตลอดช่วงสงครามทำให้ชาวอิรัก เสียชีวิต 112,000 คน ทหารอเมริกาเสียชีวิต 4,500 นาย และสหรัฐฯ เสียงบประมาณไปทั้งหมด 51 ล้านล้านบาท แต่ความสูญเสียที่ได้มา ทำให้ทุกวันนี้ อิรัก มีระบอบประชาธิปไตยเหมือนประเทศอื่นๆ แทนที่ระบอบแบบซัดดัม ฮุสเซน ซึ่งถูกขจัดสิ้นไปพร้อมกับตัวผู้นำ ประชาชนออกมาเลือกตั้งผู้นำของตัวเอง ความเจริญกระจายตัวทั่วอิรัก สังเกตได้จากการขยายตัวของห้างสรรพสินค้า และการบูรณะซากปรักหักพังจากสงคราม

 

อย่างไรก็ตาม ตลอดปี พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา อิรัก ยังคงวนเวียนอยู่กับความไม่สงบแบบรายเดือน ทั้งคาร์บอม และการยิงปะทะ โดยกลุ่มที่อ้างตัวอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ความไม่สงบอย่าง กลุ่มติดอาวุธมุสลิมสุหนี่ กลุ่มเคร่งศาสนาที่สนับสนุนอำนาจเดิมของนายซัดดัม ฮุสเซน ที่ยังคงทำการต่อต้านรัฐบาลและผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตในปีนี้ มีมากกว่า 6,000 ราย และบาดเจ็บมากกว่า 10,000 ราย

"อิหร่านยอมยุติการผลิตนิวเคลียร์"


ใครจะรู้เลยว่า การยกหูโทรศัพท์คุยระหว่างผู้นำอเมริกา และอิหร่าน ครั้งแรกในรอบ 34 ปี เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2556 จะนำมาซึ่งสัญญาณที่ดีในการประกาศยุติผลิตนิวเคลียร์ของประเทศอิหร่าน เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2556 ซึ่งแม้ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าการตัดสินใจดังกล่าว มาจากความกดดันของกลุ่มประเทศมหาอำนาจ ในการประชุม พี5+1 (กลุ่ม พี5+1 ประกอบด้วย สหรัฐฯ, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, รัสเซีย, จีน+เยอรมัน) ที่ประกาศคว่ำบาตรและอายัดเงิน 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หากอิหร่านไม่ยอมยุติผลิตนิวเคลียร์ แต่การที่สหรัฐฯ ยื่นมือแบบสุดแขน เพื่อเป็นตัวแทนในการไกล่เกลี่ย ทำให้สหรัฐฯ ได้ความดีความชอบไปพอตัว จากเหตุการณ์นี้เป็นนิมิตหมายอันดีว่า อิหร่านเริ่มเปิดใจให้กับประเทศอำนาจตั้งแต่ปฏิวัติอิสลามในอิหร่านเมื่อปี พ.ศ. 2522 และศัตรูของประเทศมหาอำนาจจะหายไปอีก 1 ชาติ



หลายฝ่ายเชื่อว่าการยุติการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ในอิหร่าน จะเป็นการปิดช่องทางเหตุความไม่สงบในประเทศเพื่อนบ้านของอิหร่าน เนื่องจากที่ผ่านมา อิหร่านส่งอาวุธต่างๆ ไปยังกลุ่มติดอาวุธที่ก่อความไม่สงบในกลุ่มประเทศอิสลาม แม้การประกาศยุติผลิตนิวเคลียร์ของอิหร่าน จะได้รับความยินดีจากหลายประเทศทั่วโลก แต่อิสราเอล ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงกลับไม่เห็นด้วย โดยรัฐบาลอิสราเอลออกมาโจมตีว่า เป็นความผิดพลาดครั้งประวัติศาสตร์

"อิสราเอลเดินหน้าแผนสันติภาพ"


30 ตุลาคม รัฐบาลอิสราเอล ปล่อยตัวนักโทษชาวปาเลสไตน์ชุดที่ 2 จำนวน 26 คน หลังจากเมื่อเดือนกรกฎาคม ได้ปล่อยตัวนักโทษปาเลสไตน์ชุดแรก 104 คน ไปแล้ว ซึ่งนักโทษส่วนใหญ่ถูกจำคุกในข้อหาฆ่าชาวอิสราเอล โดยการปล่อยนักโทษชาวปาเลสไตน์ครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของแผนสันติภาพระหว่างปาเลสไตน์และอิสราเอล ที่มีปัญหามาตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 โดยมีสหรัฐอเมริกาเข้าไปสนับสนุนอยู่ใกล้ๆ เพราะรัฐบาลอิสราเอลตระหนักดีว่า หากไม่ปล่อยตัวชาวปาเลสไตน์ออกจากคุกได้หมดสิ้น การเจรจาสันติภาพในขั้นต่อๆ ไประหว่างสองประเทศจะไม่บังเกิดขึ้นเป็นแน่



โดยวันเดียวกับที่รัฐบาลอิสราเอลประกาศปล่อยตัวนักโทษปาเลสไตน์ รัฐบาลอิสราเอลได้ประกาศสร้างที่อยู่อาศัย 1,531 หลัง ในนิคมชาวยิว เขตเวสต์แบงก์ อยู่ทางเยรูซาเล็มตะวันออก ในรูปแบบอาคารสงเคราะห์ สวนสาธารณะ เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยให้แก่ชาวยิว อีกทั้งได้อนุมัติแผนด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวและศูนย์สถาปัตยกรรมใกล้กรุงเก่าเมืองสำคัญ อย่างเยรูซาเล็ม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกด้วย ซึ่งการปล่อยตัวนักโทษอาจได้ใจชาวปาเลสไตน์ไป แต่เรื่องการสร้างบ้านในเขตเวสต์แบงก์ ทำให้ปาเลสไตน์ควันออกหู ถึงขนาดทีมเจรจาสันติภาพของปาเลสไตน์ ประกาศลาออกทั้งคณะ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่พิพาท ระหว่างสองประเทศมาช้านาน อิสราเอลเพิ่งเข้ามาครอบครองพื้นที่ดังกล่าวเมื่อ 46 ปีที่ผ่านมา จนนายกรัฐมนตรีอิสราเอล ต้องระงับแผนดังกล่าวไปในที่สุด

"นายกฯ ลิเบียโดนลักพาตัว....แล้วปล่อย"


10 ตุลาคม พ.ศ.2556 นายอาลี ไซดาน นายกรัฐมนตรีลิเบีย ที่กำลังรักษาการชั่วคราว ถูกกลุ่มติดอาวุธไม่ทราบฝ่าย บุกลักพาตัวไปจากโรงแรมโครินเธีย กลางกรุงทริโปลี ซึ่งยังไม่ทัน 24 ชั่วโมง นายกฯ ลิเบียก็ได้ถูกปล่อยตัว โดยอยู่ในสภาพปกติ ไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใด แม้ทางเจ้าหน้าที่จะสันนิษฐานหลายข้อว่า กลุ่มก่อเหตุน่าจะเป็นกลุ่มหัวรุนแรงที่ต่อต้านความพยายามยุติสงครามลิเบียของนายซีดาน รวมถึงอาจเป็นการกระทำของกลุ่มกบฏที่ไม่พอใจสหรัฐอเมริกาหลังทำการอุกอาจจับกุม นายอานัส อัลลิบี หัวหน้ากลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะห์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ที่ลิเบีย แต่นายไซดาน นายกรัฐมนตรีลิเบียเองกลับมองว่า สาเหตุของการจับตัวครั้งนี้ มีกลุ่มที่ต้องการทำการรัฐประหารอยู่เบื้องหลัง มีวัตถุประสงค์จะโค่นรัฐบาล



 

         

                

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คุณไม่สามารถมองเห็น links ได้ กรุณา.สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ
ข่าวเด่น ทวีปตะวันออกกลาง 2013

LikePost โดย 0 สมาชิก :


 

Sitemap 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 
ร่วมขับเคลื่อนโดย