สนับสนุนเว็บ

ผู้เขียน หัวข้อ: อา นิสงค์จากการรักษาศีล 5 (มาดูกันสิครับ)  (อ่าน 672 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Permalink: อา นิสงค์จากการรักษาศีล 5 (มาดูกันสิครับ)

04/พ.ค./10 หัวข้อไอดี: 3763 | ลิ้งค์หัวข้อ: /topic/3763

ออฟไลน์ น้องน้ำหอม

  • ออฟไลน์
  • 28225
    0
    65535



  • Mentor
  • ***
  • สมัครสมาชิกเมื่อ 17/07/2009
    YearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYears
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้ : 28225
  • Like Post : 65535
  • Peny : 0
  • 14

    • ดูรายละเอียด
    • ด้ามขวาน ดอทคอม

  • คนด้ามขวาน

  • เข้าใช้งานล่าสุดเมื่อ 28/ส.ค./12


อานิสงค์จากการรักษา ศีล 5

เมื่อจะรับศีลต้องมั่นใจว่าจะรักษาศีลได้...

รู้จัก คุณและโทษของศีล   5   ตามนี้

อานิสงค์ของศีลข้อที่    1      คือการไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง    มีดังนี้         

1.   ความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอวัยวะน้อยใหญ่
2.   ความถึงพร้อมด้วยส่วนสูงและส่วนกว้าง
3.   ความถึงพร้อมด้วยเชาว์ไวไหวพริบ
4.   ความเป็นผู้มีเท้าตั้งอยู่เหมาะสม
5.   ความสวยงาม
6.   ความเป็นผู้อ่อนโยน
7.   ความสะอาด
8.   ความกล้าหาญ
9.   ความเป็นผู้มีกำลังมาก
10.   ความเป็นผู้มีถ้อยคำสละสลวย
11.   ความเป็นผู้น่ารัก  น่าพอใจ  ของสัตว์ทั้งหลาย
12.   ความเป็นผู้มีบริษัท (บริวาร) ไม่แตกแยกกัน
13.   ความเป็นผู้ไม่สะดุ้งหวาดเสียว
14.   ความเป็นผู้อันใคร ๆ กำจัดได้ยาก
15.   ความเป็นผู้ไม่ตายด้วยการปองร้ายของผู้อื่น
16.   ความเป็นผู้มีบริวารมาก
17.   ความเป็นผู้มีผิวดังทอง
18.   ความเป็นผู้มีทรวดทรงงาม
19.   ความเป็นผู้มีอาพาธ (ความเจ็บป่วย) น้อย
20.   ความเป็นผู้ไม่เศร้าโศก
21.   ความเป็นผู้ไม่พลัดพราก   จากของรักของชอบใจ
22.   ความเป็นผู้มีอายุยืน

อานิสงค์ของศีล ข้อ  ที่  2   คือการไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้    มีดังนี้   

1.  ความเป็นผู้มีทรัพย์  และข้าวเปลือกมาก   
2.  ความเป็นผู้มีโภคะ อเนกอนันต์
3.  ความเป็นผู้มีโภคะยั่งยืน
4.  การได้โภคทรัพย์ตามที่ต้องการอย่างฉับพลัน
5.  การมีโภคะทรัพย์ไม่ทั่วไปกับพระราชา  เป็นต้น  (คือ  เป็นคนมีสมบัติที่หาได้ยาก   แม้แต่พระราชาก็ไม่มีเหมือน)
6.  ความเป็นผู้มีโภคะโอฬาร
7.  ความเป็นหัวหน้าในที่นั้น ๆ
8.  ความเป็นผู้ไม่รู้จักคำว่าไม่มี
9.  ความเป็นผู้อยู่อย่างสบาย

อา นิสงค์ของศีลข้อ   ที่   3   คือไม่ประพฤติผิดในการร่วมเพศ   (รวมถึงข้อรักษาพรหมจรรย์ด้วย)    มีดังนี้   

1.  ความเป็นผู้ปราศจากข้าศึก
2.  ความเป็นที่รักเป็นที่พอใจของสรรพสัตว์
3.  ความเป็นผู้มีปกติได้ของต่างๆ  เช่น    ข้าว  น้ำ  ผ้า   และวัตถุเครื่องปกปิด   เป็นต้น
4.  การนอนหลับสบาย
5.  การตื่นขึ้นมาสบาย
6.  การพ้นจากภัยในอบาย
7.  ความไม่ควรแก่การเกิดเป็นหญิง    หรือ   เป็นกะเทย
8.  ความเป็นผู้ไม่โกรธ
9.  ความเป็นผู้มีปกติทำจริง
10.  ความเป็นผู้ไม่เก้อเขิน
11.  ความเป็นผู้มีความสุขด้วยการได้รับเชิญ
12.  ความเป็นผู้มีอินทรีย์ (ร่างกายและจิตใจ)  ที่บริบูรณ์
13.  ความเป็นผู้ปราศจากความระแวง
14.  ความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย
15.  ความเป็นผู้อยู่อย่างเป็นสุข
16.  ความเป็นผู้ไม่มีภัยจากที่ไหน ๆ
17.  ความเป็นผู้ไม่มีการพลัดพรากจากของรัก    (เมื่อยังไม่ถึงเวลาอันสมควร)

อา นิสงค์ของศีลข้อ  ที่  4   คือการไม่กล่าวคำไม่จริงในที่ทั้งปวง     มีดังนี้   

1.  ความเป็นผู้มีอินทรีย์ (ร่างกายและจิตใจ) ผ่องใส
2.  ความเป็นผู้มีปกติ   พูดด้วยคำสละสลวย   อ่อนหวาน
3.  ความเป็นผู้มีฟันเรียบเสมอ   ทั้งขาว   ทั้งสะอาด
4.  ความเป็นผู้ไม่อ้วนจนเกินไป
5.  ความเป็นผู้ไม่ผอมจนเกินไป
6.  ความเป็นผู้ไม่ต่ำเกินไป
7.  ความเป็นผู้ไม่สูงเกินไป
8.  ความเป็นผู้มีสัมผัสเป็นสุข
9.  ความเป็นผู้มีกลิ่นปากหอมเหมือนกลิ่นดอกอุบล (ดอกบัว)
10.  ความเป็นผู้มีบริษัท (บริวาร)   เชื่อฟัง   ตั้งอยู่ในโอวาท
11.  ความเป็นผู้มีวาจาเชื่อถือได้
12.  ความเป็นผู้มีลิ้น   อ่อน   แดง   และบางเหมือนกลีบดอกอุบล
13.  ความเป็นผู้ไม่หดหู่
14.  ความเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
         
อานิสงค์ของศีลข้อ  ที่   5    คือการไม่เสพสุราและสิ่งมึนเมาทั้งปวง    มีดังนี้   

1.  ความเป็นผู้ไม่ประมาทในกิจและกรณียกิจ    ทั้งที่เป็นอดีต – อนาคต - ปัจจุบัน
2.  ความเป็นผู้มีญาณ (ปัญญา)
3.  ความเป็นผู้มีสติปรากฏอยู่ทุกเมื่อ
4.  ความเป็นผู้มีปฏิภาณ (ไหวพริบ)  เกิดขึ้นทุกสถาน   ในเมื่อมีกิจและกรณียกิจเกิดขึ้น
5.  ความเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน
6.  ความเป็นผู้ไม่โง่เขลา
7.  ความเป็นผู้ไม่บ้าใบ้
8.  ความเป็นผู้ไม่หวาดสะดุ้ง
9.  ความเป็นผู้ไม่มีการแข่งดี
10.  ความเป็นผู้ไม่มีความริษยา
11.  ความเป็นผู้ไม่ตระหนี่
12.  ความเป็นผู้มีปกติกล่าวคำสัตย์
13.  ความเป็นผู้มีปกติไม่พูดส่อเสียด    ไม่พูดคำหยาบ     ไม่พูดเพ้อเจ้อ
14.  ความเป็นคนกตัญญู  (ระลึกถึงบุญคุณที่ผู้อื่นทำไว้กับตน)
15.  ความเป็นผู้มีกตเวที  (การเป็นผู้รู้จักตอบแทนบุญคุณที่ทำผู้อื่นทำไว้กับตน , การประกาศคุณของท่าน)
16.  ความเป็นผู้มีโภคะทรัพย์
17.  ความเป็นผู้มีศีล
18.  ความเป็นผู้ซื่อตรง
19.  ความเป็นผู้ไม่โกรธ
20.  ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตัปปะ  (ถึงพร้อมด้วยความเกรงกลัวและความละอายต่อบาป)
21.  ความเป็นผู้มีความเห็นตรง
22.  ความเป็นผู้มีใจใหญ่
23.  ความเป็นผู้ฉลาด
24.  ความเป็นผู้ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์  และสิ่งที่มิใช่ประโยชน์


นี้เป็นอานิสงค์ - เป็นคุณ   ของการรักษาศีล   5     นี้กล่าวสำหรับการกลับมาเกิดในโลกมนุษย์นะ
แต่ ก่อนที่จะมาเกิดเป็นมนุษย์แล้วมีคุณสมบัติดังว่ามา    ก็จะได้ไปเกิดในสวรรค์เสวยสุขสำราญให้เปรมปรีด์เสียก่อน

ส่วนโทษของ การผิดศีล   5   ก็ต้องไปตกนรกหมกไหม้ก่อน   หลังจากนั้น
เมื่อได้มา เกิดเป็นมนุษย์เมื่อใดก็จะเป็นมนุษย์ที่มีคุณสมบัติ     ตรงกันข้าม    กับเรื่องคุณของศีล  5  นี้แหละ   
พิจารณาเอาเองนะว่ามีอะไรบ้าง

***    อ้างอิงจากพระไตรปิฎกเล่ม   45    หน้า   456    ***

LikePost โดย 0 สมาชิก :


 

Sitemap 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 
ร่วมขับเคลื่อนโดย