สนับสนุนเว็บ

ผู้เขียน หัวข้อ: หาดใหญ่(โคก เสม็ดชุน)  (อ่าน 800 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Permalink: หาดใหญ่(โคก เสม็ดชุน)

13/ก.ค./10 หัวข้อไอดี: 7452 | ลิ้งค์หัวข้อ: /topic/7452

ออฟไลน์ nasawa

  • ออฟไลน์
  • 23
    0
    59



  • Grade III
  • ***
  • สมัครสมาชิกเมื่อ 30/05/2010
    YearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYearsYears
  • กระทู้ : 23
  • Like Post : 59
  • Peny : 0
  • 4258

    • ดูรายละเอียด


  • เข้าใช้งานล่าสุดเมื่อ 13/ก.ค./10


บ้านโคกเสม็ดชุน

 เมื่อปี 2428 ปรากฏหลักฐานว่ามีชาวบ้านตั้งบ้านเรือน อยู่ที่ที่ทำการไปรษณีย์ โทรเลข เชิงสะพานลอย
เป็นบ้านของนายปลอด ปลูกอยู่ในอาณาเขตของ บ้านโคกเสม็ดชุน และยังมีบ้านอีกหลายหลังตั้งอยู่ห่าง ๆ กันไปจนถึงบริเวณ ที่ทำการสถานีตำรวจรถไฟ บริเวณบ้านโคกเสม็ดชุนมีต้นไม้ขึ้นอยู่หลายชนิด เช่น ต้นมะม่วง ต้นมะไฟ ต้นตาล ฯลฯ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งของชาวบ้าน ที่มักจะปลูกผลไม้พื้นบ้านควบคู่ไปกับการตั้งบ้านเรือนเสมอ สภาพพื่นที่โดยรอบ บ้านโคกเสม็ดชุนในสมัยนั้น เป็นหนองเป็นบึง มีป่ารกร้างโดยรอบบ้านเรือนของผู้คน แต่ก็ยังมีชาวบ้านจากบ้านอื่นๆ เช่นบ้านกลาง ได้ขยับขยายย้ายถิ่นฐานไปบุกเบิกป่ารกร้าง แห่งหนึ่ง (ปัจจุบัน คือ บริเวณที่ตั้งของวัดโคกสมานกุล) ซึงในสมัยนั้นเรียกว่า บ้านปลักขี้ใส่โพลง

คลองเตย
เป็นคลองสายเก่าแก่ที่สุดของนครหาดใหญ่ เมื่อกว่า 80 ปีก่อน คลองเตยยังเป็นคลองน้ำลึกและกว้างมาก
มีพันธุ์ไม้นานาชนิด ทั้งไม้ล้มลุกและไม้ยืนต้น มีสัตว์น้ำต่างๆ เช่น ปลา เต่า ตะพาบน้ำ หอยโข่ง และอื่นๆ อาศัยอยู่มากมายส่วนริมฝั่งคลองเตยทั้ง 2 ฝั่ง มีต้นไม้ใหญ่เรียงราย โดยเฉพาะต้นไผ่ป่าขึ้น เรียงเป็นแถวเป็นแนวเหมือนกำแพงทั้ง 2 ฝั่งคลอง คลองสายนี้มีต้นน้ำมาจากทางด้านตะวันออก ไหลเข้าสู่ทางด้านใต้ของสถานีรถไฟหาดใหญ่ ผ่านบริเวณทุ่งเสาไหลเรียบ ถนนสายต่างๆ ในตัวเมืองหาด ใหญ่ เป็นคลองที่มีความยาวและคดเคี้ยวไปมา ในปัจจุบันตื้นเขินและไม่สามารถสัญจรได้

คลองอู่ตะเภา
อยู่ทางทิศตะวันตก ยาวประมาณ 15 กิโลเมตร มีปริมาณน้ำมากตลอดทั้งปี ใช้เป็นเส้นทางสัญจรได้ ในสมัยก่อน บริเวณแถบริมคลองอู่ตะเภามี ลักษณะเป็นหาดทรายใหญ่ แต่ปัจจุบันไม่มีหาดทรายหลงเหลืออยู่เลย เพราะได้นำทราย ไปใช้ประโยชน์จนหมดสิ้นแล้ว หาดทรายนี้เกิดจาก การพัดพาธารน้ำเล็กๆ สามสายไหลมาบรรจบกัน ธารน้ำทั้งสามสายนี้ ยังเป็นแหล่งที่ชาวบ้านพากันมาล้างแร่ด้วยเวลาผ่านไปทรายที่ถูกน้ำพัดพามาก็รวมกันเป็นหาดทรายกว้าง เรียกว่า หาดทราย และใช้เป็นแหล่งตลาดนัดสำหรับขายขอ งในสมัยก่อน

การพัฒนาความเจริญของนครหาดใหญ่

หาดใหญ่ เป็นชื่อรวมของหมู่บ้านโคกเสม็ดชุน และบ้านหาดใหญ่ เดิมดินแดนหาดใหญ่เป็นเนินสูงมีผู้คนอาศัยอยู่ไม่มากนัก การคมนาคมไม่สะดวก เป็นป่าต้นเสม็ดชุน โดยทั่วไปชาวบ้านจึงเรียกว่า บ้านโคกเสม็ดชุน เมื่อทางการ ได้ตัดทางรถไฟ มาถึงท้องถิ่นนี้ จึงมีประชาชนอพยพมาตั้งหลักแหล่งทำมาหากิน และเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ สมัยนั้นสถานีชุมทางรถไฟอยู่ที่สถานีอู่ตะเภา (ด้านเหนือของสถานีรถไฟหาดใหญ่ ในปัจจุบันเป็นเพียงที่หยุดรถไฟ) เนื่องจากสถานีอู่ตะเภาเป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมเป็นประจำ ทางการรถไฟจึงได้ย้ายสถานีมาอยู่ที่สถานีชุมทางหาดใหญ่ปัจจุบัน ประชาชนได้ทะยอยติดตามมาสร้างบ้านเรือนตามบริเวณสถานีนั่นเอง ฉะนั้น อาจกล่าวได้ว่ากิจการรถไฟมีบทบาทต่อ การขยับขยายและความเจิรญก้าวหน้าของนครหาดใหญ่ตลอดมา ต่อมาได้มีผู้เห็นการไกล กล่าวว่า บริเวณสถานีรถไฟหาดใหญ่นี้ ต่อไปภายหน้าจะต้องเจริญก้าวหน้าอย่างแน่นอน จึงได้มีการจับจองและซื้อที่ดินแปลงใหญ่จากราษฏรพื้นบ้าน
บุคคลที่ครอบครองแผ่นดินผืนใหญ่ ๆ อาทิ นายเจียกีซี (ต่อมาได้รับพระราชทานนาม เป็นขุนนิพัทธ์จีนนคร)
คุณพระเสน่หามนตรี นายซีกิมหยง และพระยาอรรถกระวีสุนทร ทั้ง4 ท่านนี้นับว่าเป็นบุคคลที่มีส่วนในการสร้างสรรค์ ความเจริญก้าวหน้าให้แก่นครหาดใหญ่อย่างแท้จริง ได้ตัดถนน สร้างอาคารบ้านเรือนให้ ราษฏรเช่า ตัดที่ดินแบ่งขาย เงินที่ได้ก็นำไปตัดถนนสายใหม่ต่อไป ทำให้ท้องถิ่นรุดหน้าอย่างอัศจรรย์ ชุมชนหาดใหญ่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทางราชการต้องยกฐานะให้ บ้านหาดใหญ่ เป็นอำเภอที่มีชื่อว่า อำเภอเหนือ

 

 

ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อจาก อำเภอเหนือ เป็น อำเภอหาดใหญ่ และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอชั้นเอกในที่สุดปี พ.ศ. 2471 หาดใหญ่มีฐานะเป็น สุขาภิบาล ซึ่งประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลเมื่อวันที่ 29 กรกฏาคม 2471 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 29 กรกฏาคม2471

ต่อมาสุขาภิบาลแห่งนี้ เจริญขึ้น มีพลเมืองหนาแน่นขึ้น และมีกิจการเจริญก้าวหน้ากระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศ พระราชกฤษฏีกา ยกฐานะเป็นสุขาภิบาลหาดใหญ่เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2478 ซึ่งในขณะนั้นมีเนื้อที่ 5 ตารางกิโลเมตรมีประชากรประมาณ 5,000 คน รวมถึงมีรายได้ประมาณ 60,000 บาท

เนื่องจากประชาชนในเขตเทศบาลอยู่หนาแน่น พร้อมทั้งกิจการได้เจริญขึ้น จึงได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเทศบาลจึงได้มี พระราชกฤษฎีกายกฐานะ เทศบาลตำบลหาดใหญ่ เป็น เทศบาลเมืองหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2492 ตามประกาศใน พระราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 15 มีนาคม 2492 ในขณะนั้นมีเนื้อที่ 5 ตารางกิโลเมตร มีประชากร ประมาณ 19,425 คน มีรายได้ 374,523.33 บาท

ต่อมาประชาชนอาศัยในเขตเทศบาลเพิ่มปริมาณหนาแน่นมากขึ้น พร้อมทั้งกิจการของเทศบาลได้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น จึงได้เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลจาก เนื้อที่ 5 ตารางกิโลเมตร เพิ่มอีก 3 ตารางกิโลเมตร รวมเป็นเนื้อที่ 8 ตาราง กิโลเมตร ตามพระราชกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2504 ในขณะนั้น โดยมีประชากร 38,162 คน แลมีรายได้ 3,854,964.17 บาท


 

ต่อมาท้องที่ในเขตเทศบาลได้เจริญขึ้น มีประชากรอยู่หนาแน่นเพิ่ม ปริมาณมากขึ้น และเพื่อประโยชน์ในการบริหาร และการทำนุบำรุงท้องถิ่น จึงได้เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่ จากเนื้อที่ 8 ตารางกิโลเมตร เพิ่มขึ้นอีก 13 ตารางกิโลเมตร รวมเป็นเนื้อที่ทั้งหมด 21 ตารางกิโลเมตร เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2520 ตามพระราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 12 เมษายน 2520 ในขณะนั้นมีประชากร 68,142 คน มีรายได้ 49,774,558.78 บาท นับได้ว่าเทศบาลเมืองหาดใหญ่เป็นเทศบาลชั้น 1 มีความเจริญก้าวหน้า มีประชากรหนาแน่น ขยายตัวอย่างรวดเร็วทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะเป็นเมืองท่องเที่ยว แหล่งศูนย์กลางของหาดใหญ่ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงไปได้แก่ศาสนาอิสลาม ซึ่งมีประชากรร้อยละ 10 เท่านั้น อาชีพของราษฎรได้แก่ การกสิกรรม การค้า และการอุตสาหกรรม

การกสิกรรมเป็นอาชีพ สำคัญมากชนิดหนึ่ง แต่จะดำเนินการแต่เพียงรอบนอก ในเขตเทศบาลส่วนใหญ่ จะทำด้านการค้า ซึ่งมีทั้งขายปลีก และขายส่ง ปัจจุบันกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการสร้างศูนย์การค้าขนาดใหญ่ขึ้นหลายแห่ง เพื่อจำหน่าย สินค้าสำเร็จรูป

ส่วนอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การรมควันยาง โรงน้ำแข็ง ปลาป่น แปรรูปไม้ โรงสีข้าว และอื่น ๆ อุตสหกรรมสำคัญอีก ประเภทหนึ่ง ที่ได้รับการส่งเสริมจากเทศบาล และมีการตอบสนองเป็นอย่างดีจากภาคเอกชน คือ การท่องเที่ยว ซึ่งประกอบ ด้วยธุรกิจที่ เกี่ยวข้องอีกหลายอย่าง เป็นต้นว่า โรงแรม บริการนำเที่ยว บาร์ ไนท์คลับ ห้องอาหาร และบริการอื่น ๆ

 

การศึกษาอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีสถาบันการศึกษาทุกระดับตั้งแต่มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ตั้งอยู่ที่ตำบลคอหงส์ นอกจากนั้นยังมีวิทยาลัยอาชีวศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา สายสามัญและ สายอาชีพ ทั้งของรัฐ และเอกชนมากมาย จึงจัดได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีความก้าวหน้า ทางการศึกษาสูงมาก

ทางด้านสาธารณสุข มีโรงพยาบาลของรัฐ 3 แห่งคือ โรงพยาบาลหาดใหญ่ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และโรงพยาบาล ค่ายเสนาณรงค์ โรงพยาบาลเหล่านี้จัดได้ว่าเป็นโรงพยาบาลชั้นนำ สามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้ อย่างกว้างขว้างจนทัดเที่ยม กับส่วนกลาง ส่วนสถานพยาบาลเอกชนก็มีไม่น้อย การให้บริการด้านการรักษาพยาบาล จึงอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก


หาดใหญ่ยังเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางบก และทางอากาศ มีสนามบินพาณิชย์ขนาดใหญ่อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร หาดใหญ่ยังเป็นชุมทางรถไฟ และศูนย์กลางทางด้านคมนาคม และด้วยศักยภาพที่โดดเด่น และถึงพร้อมด้วย คุณลักษณะรวมไปถึงวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลของผู้บริหารภายใต้การนำของ นายเคร่ง สุวรรณวงศ์ ทำให้เทศบาลเมืองหาดใหญ่ ได้ยกฐานะจาก เทศบาลเมืองหาดใหญ่ เป็น เทศบาลนครหาดใหญ่ ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับ กฤษฎีกา เล่มที่ 112 ตอนที่ 40 ก ลงวันที่ 24 กันยายน 2538 โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2538 ซึ่งปัจจุบัน เทศบาลนครหาดใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมด 21 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 157,881 คน และมีรายได้ 978,796,627.15 บาท

ข้อมูลโดย : เทศบาลนครหาดใหญ่่

LikePost โดย 0 สมาชิก :


 

Sitemap 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 
ร่วมขับเคลื่อนโดย