สนับสนุนเว็บ

แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ลุงต้อยร้อยกิ๊ก

หน้า: 1 2 3 ... 28
1
ภาษาใต้วันละคำ / หัวชัว
« เมื่อ: 26/ก.พ./16 »
หัวชัว
.
เป็นภาษาไทยปักษ์ใต้ หมายถึง "ไมโครโฟน"


คุณไม่สามารถมองเห็น links ได้ กรุณา.สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ

2
ภาษาใต้วันละคำ / ยน
« เมื่อ: 06/พ.ค./15 »
ยน
เป็นภาษาไทยปักษ์ใต้ หมายถึง "ตะบันตำหมาก"

ลักษณะของการตำหมากที่ส่งเหล็กแท่งกลม ๆ ยาว ๆ เข้าไปกระทุ้งในกระบอกกลม ๆ ภาษาไทยปักษ์ใต้เรียกว่า การ "ยน" ดังนั้น ตะบันตำหมาก จึงเรียกเต็ม ๆ ว่า "กระบอกยน" หรือ "บอกยน" แต่สำหรับคนปักษ์ใต้แล้ว พูดสั้น ๆ เพียงแค่ "ยน" ก็เข้าใจแล้วว่า หมายถึง "ตะบันตำหมาก" นั่นเอง


3
ภาษาใต้วันละคำ / แต่สวน
« เมื่อ: 19/เม.ย./15 »
แต่สวน
เป็นภาษาไทยปักษ์ใต้ หมายความว่า "กระทำการบางอย่างโดยเพียงลำพัง , กระทำโดยตัวเองคนเดียว"  รากภาษาจากภาษาไทยกลางว่า "เฉพาะแต่ส่วนตัว(เท่านั้น)" แต่สำเนียงที่เพี้ยนไปจากคำว่า "ส่วน" กลายเป็น "สวน" เนื่องจาก "ส่วน" กับ "สวน" สำเนียงปักษ์ใต้ออกเสียงเหมือนกัน ทำให้คนปักษ์ใต้หลายคนที่ไม่ทราบที่มาของคำนี้ พากันออกสำเนียงแบบภาษาไทยกลางเป็น "แต่สวน" แทนที่จะเป็น "แต่ส่วน" ซึ่งลักษณะการออกสำเนียงที่ผิดเพี้ยนไปจากความหมายที่แท้จริงแบบนี้ คนปักษ์ใต้จะล้อคนที่พูดว่า "แหลงทองแดง" คือ พูดภาษาไทยปักษ์ใต้ด้วยสำเนียงภาคกลาง แต่ผิดเพี้ยนไป ทำให้ดูแล้วขบขัน นั่นเอง

เขาไปเที่ยวกันเหม็ด เราโย้เรินแต่สวน (พวกเขาไปเที่ยวกันหมด เราอยู่บ้านคนเดียว)

ม้ายไคช่วย ต้องทำแต่สวนเลยเห้อ (ไม่มีใครช่วย ต้องทำคนเดียวเลยเหรอ)


4
ภาษาใต้วันละคำ / ฉาบ
« เมื่อ: 16/เม.ย./15 »
ฉาบ
คำว่า "ฉาบ" ไม่ได้หมายถึงเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่ใช้ประกอบจังหวะคู่กับฉิ่งแต่อย่างใด แต่เป็นภาษาไทยปักษ์ใต้ มีความหมายว่า "เฉียด, เกือบจะ"

สงกรานต์ปีนี้ เมาล้มรถฉาบตาย



5
ภาษาใต้วันละคำ / นวน
« เมื่อ: 25/ก.พ./15 »
นวน
นวน
คำนี้ เป็นภาษาไทยปักษ์ใต้  แปลว่า "นิ่ม อ่อนปวกเปียก"  มีรากภาษาจากภาษาไทยกลาง ซึ่งเป็นคำสร้อยคำซ้อนจากคำว่า "นิ่มนวล"  ซึ่งแปลว่า กระทำด้วยความประณีต ระมัดระวัง แต่สำหรับภาษาไทยปักษ์ใต้ เอาคำว่า "นวล" มาใช้แทนคำว่า "นิ่ม" เฉย ๆ ไม่ได้แปลว่า ทำด้วยความระมัดระวังแต่อย่างใด แต่หมายถึงสิ่งใดก็ตาม ที่มีลักษณะ "นิ่ม" หรือ "อ่อนปวกเปียก" ก็จะใช้คำว่า "นวน" ในการเรียกทั้งสิ้น


6
ชาติคล่อง
ชาติคล่อง
คำนี้ เป็นภาษาไทยปักษ์ใต้  แปลว่า "ผ่านฉลุย ไม่มีปัญหาติดขัด"  เป็นคำอุทาน หรือคำที่พูดขึ้นมาลอย ๆ ต่อท้าย เมื่อสามารถทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้สำเร็จโดยไม่มีปัญหาติดขัด


7
ภาษาใต้วันละคำ / ราน
« เมื่อ: 24/ก.พ./15 »
ราน
ราน
คำนี้ เป็นภาษาไทยปักษ์ใต้ แปลว่า "ตัดกิ่งไม้บนต้นไม้ให้ขาดลงมา" จะใช้เรียกว่า "รานกิ่งไม้"


8
ภาษาใต้วันละคำ / คร่าว
« เมื่อ: 24/ก.พ./15 »
คร่าว
คร่าว
คำนี้ เป็นภาษาไทยปักษ์ใต้ แปลว่า "คอย หรือ รอ" ฐานภาษาเป็นคำซ้อนภาษาไทยกลางคำเก่า ๆ โบราณ  จากคำว่า "คอย" หรือ "คร่าวรอ" ภาษาไทยปักษ์ใต้จะใช้คำว่า "คร่าว" แทนคำว่า คอย หรือ รอ เช่นเดียวกับคำว่า "คอยท่า" ภาษาไทยปักษ์ใต้จะใช้แต่คำว่า "ท่า" ซึ่งหมายถึงรอ เช่นเดียวกัน


9
ภาษาใต้วันละคำ / ปละ
« เมื่อ: 16/ก.พ./15 »
ปละ
เป็นภาษาไทยปักษ์ใต้ มีความหมายว่า "ฝ่าย , ฝั่ง"  บางพื้นที่ออกเสียงเป็น "ปล้า" หรือ "ปร้า"

ปละนู้มุมแดง ปละนี้มุมน้ำเงิน

ปละนี้ฝนตก ปละนู้ฝนตกมั่งม้าย

อิข้ามคลองไปปละนู้ แต่ม้ายเรือ


10
ภาษาใต้วันละคำ / ลอกอ
« เมื่อ: 15/ก.พ./15 »
ลอกอ
เป็นภาษาไทยปักษ์ใต้ มีความหมายโดยตรงว่า "มะละกอ" ตามสำเนียงคนปักษ์ใต้ จะเรียกสั้น ๆ ว่า "ลอกอ" แต่มีอีกคำหนึ่งทีเป็นคำแสลงของภาษาปักษ์ใต้ซึ่งมีความสำคัญและนิยมใช้กันทั่วไปคือ แปลว่า "หลอกลวง , ขี้ฉ้อ"

รักพี่ไม่ลอกอ แปลว่า "รักพี่จริง ๆ ไม่ได้หลอกลวงแต่อย่างใด"


11
ภาษาใต้วันละคำ / เพลี่ยง
« เมื่อ: 15/ก.พ./15 »
เพลี่ยง
เป็นภาษาไทยปักษ์ใต้ มีความหมายว่า "เสียท่า , เสียหลัก , พลาดพลั้ง , พลาดท่า" มีรากภาษามาจากภาษาไทยกลางว่า "เพลี่ยงพล้ำ" บางพื้นที่ของปักษ์ใต้จะออกสำเนียงเป็น "เพรียง"



12
ไม่รู้แห่ง
"ไม่รู้แห่ง"
คำนี้เคยทำให้เพื่อนผมที่อยู่สุราษฎร์มึนตึ๊บมาแล้ว ... ตอนหลังถึงได้รู้ว่า มันเป็นภาษาชุมพร คนที่อื่นที่ไม่เคยรู้มาก่อน ไม่มีทางเข้าใจ
"ไม่รู้แห่ง" คำนี้เมื่อใช้ร่วมกับกิริยา (ไม่ใช่สถานที่นะคร๊าบบบ) จะมีความหมายว่า "ไม่รู้จะ ....... ยังไงดีแล้ว" เช่น (ภาษาชุมพร คนปักษ์ใต้บางจังหวัดอ่านแล้วอาจจะงง)
หลานกูคนเล็ก ไม่ยอมกินกาไฮ ป้อนนมมันก็ไม่กิน ป้อนข้าวมันก็ไม่กิน "กูไม่รู้แห่งทำ" แหล่วเหว้อ ..... ประโยคนี้ทำเอาเพื่อนผมที่สุราษฎร์มึนตึบ ว่า หลานไม่กินอะไรเลย แล้วไปเกี่ยวกะไรกะ "ไม่รู้แห่งธรรม" สงสัยไปบวชมาแล้วเข้าไม่ถึงธรรมะ 555+++
วันนี้ไม่มีกาตางค์ ไม่รู้แห่งกินกาไรแหล่วเหวย
กูเบาะแหล่วเบาะอิ มันก้อไม่ฟัง "กูไม่รู้แห่งพูดกาไรแหล่วเน"


13
ภาษาใต้วันละคำ / ฉิว
« เมื่อ: 14/ก.พ./15 »
ฉิว
ฉิว

เป็นภาษาชุมพร หมายถึง "โกรธ" ภาษาไทยปักษ์ใต้ ใช้คำว่า "หวิบ" แต่คนชุมพรก็มีไม่น้อยที่ใช้คำว่า "หวิบ"

แดงสูพูดหรัยเขล็ง ๆ จริง ไม่แล ตาม้า ตาเรือ สาวฉิว ปัด ๆ ไม่เห็นเหอ


14
ภาษาใต้วันละคำ / หวิบ
« เมื่อ: 14/ก.พ./15 »
หวิบ
หวิบ
คำนี้ เป็นภาษาไทยปักษ์ใต้คร๊าบบบบ .... "หวิบ" แปลว่า "เคือง" (ยังไม่ถึงขึ้นโกรธ แต่เกิดความไม่พอใจขึ้นมา แต่ยังเก็บอาการอยู่)


15
ภาษาใต้วันละคำ / ท่า
« เมื่อ: 14/ก.พ./15 »
ท่า
เป็นภาษาไทยปักษ์ใต้ มีความหมายว่า "รอคอย" มีรากภาษามาจากภาษาไทยกลางว่า "รอท่า, คอยท่า" ซึ่งภาษาไทยปักษ์ใต้จำนวนไม่น้อย ที่มีลักษณะนำเอาคำสร้อยที่ต่อท้ายของภาษาไทยกลางมาใช้เรียกเป็นภาษาไทยปักษ์ใต้ อีกคำหนึ่งที่มีความหมายเดียวกันกับคำว่า "ท่า" คือ คำว่า "คร่าว"

หกเราให้ไปท่าเท่หนำ หวิบจริง (หลอกเราให้ไปคอยที่ขนำ น่าโมโหจริง ๆ)


หน้า: 1 2 3 ... 28
ร่วมขับเคลื่อนโดย